12 ต.ค. 2552

การดูแลรักษาภาพเขียน ความงดงามของทีแปรงในภาพเขียนแต่ละรูป เปรียบเสมือนรอยนิ้วมือของศิลปินที่ประทับลงไปบนงานนั้น ๆ ต่างก็มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ภาพเขียนก็คล้ายกับงานศิลปะประเภทอื่น ๆ ซึ่งควรจะเก็บให้พ้นจากการถูกแสงโดยตรง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบฉับพลัน และความชื้นสูง ๆ อย่าทำลายภาพเขียนของคุณด้วยการใช้กรอบรูปที่มีคุณภาพต่ำ ๆ หรือการซ่อมแซมที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งทั้ง 2 ประการที่กล่าวมาเป็นตัวการทำลายภาพเขียนของคุณได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับงานศิลปอื่น ๆ ที่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการทำความสะอาด ก่อนอื่นควรจะทำความรู้จักสภาพของภาพเขียนที่สะสมไว้ให้ดีก่อน รวมทั้งวัสดุที่ใช้วาดภาพนั้นด้วยการดูแลรักษา - ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องการควบคุม แสงสว่าง อุณหภูมิ และความชื้น- ไม่ควรลงมือซ่อมแซมภาพเขียนด้วยตัวเอง แม้ว่าจะเห็นว่าภาพเริ่มเสียหาย รวมถึงการแตกร้าวด้วย- ปัดฝุ่นภาพเขียนด้วยแปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม สะอาด และแห้ง โดยปัดจากด้านบนลงล่าง- การแขวนภาพเขียนควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยใช้ตัวแขวน 2 ตัว เพื่อความปลอดภัย- ห้ามใช้แปรงขนไก่ ผ้า หรือ ผ้าทอขนแกะ ทำความสะอาดภาพ- ถ้ามีภาพเขียนเป็นจำนวนมาก ควรทำชั้นสำหรับจัดเก็บให้เป็นสัดส่วน โดยจัดเก็บในแนวตั้ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีและป้องกันความเสียหาย- ห้ามสัมผัสรูปเขียนด้วยมือเปล่า ควรสวมถุงมือทุกครั้งการถือและการขนย้าย - ถ้ามีการขนย้ายภาพเขียนในระยะทางสั้น ๆ ควรถือด้วย 2 มือ ในตำแหน่งที่ปลอดภัย (มือหนึ่งอยู่ข้างล่าง ส่วนอีกมือหนึ่งจับด้านบนของชิ้นงาน)- ถ้าเป็นไปได้ควรมีผู้ช่วยไปด้วยเสมอ- สำหรับการขนย้ายในระยะไกล ๆ ควรจ้างผู้เชี่ยวชาญในการบรรจุหีบห่อและการขนย้ายการดูแลรักษาภาพเขียน เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ภาพเขียนจะปลอดภัยที่สุดก็ต่อเมื่อแขวนอยู่บนผนังห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่ดี แต่ถ้าจำเป็นต้องขนย้ายรูปภาพเหล่านั้น ซึ่งอาจจะมาจากการซื้อขาย การให้ยืมเพื่อจัดแสดงยังที่อื่น ๆ หรือมีความจำเป็นต้องส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการซ่อมแซม วิธีที่ดีที่สุดคือ มอบหมายให้บริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์ที่มีความชำนาญเป็นผู้ดำเนินการ

1 ส.ค. 2551

10 ก.ค. 2550

ป ร ะ วั ติ ส่ ว น ตั ว [ Update 11 July 2007 ]
ชื่อ นายดินหิน รักพงษ์อโศก
เกิด วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2503 ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
การศึกษา
- 2510 - 2516 ชั้นประถม 1-7 โรงเรียนเทศบาลเมืองนครสวรรค์ 4 ( วัดวรนารถบรรพต )
- 2517 - 2519 ชั้นมัธยมต้น ม.ศ. 1 – 3 โรงเรียนนครสวรรค์
- 2520 - 2521 วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ถ.ราชินี กทม.
- 2522 - 2527 ศบ.จิตรกรรม คณะจิตรกรรม ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- 2542 - 2544 บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต [MBA.] สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- 2550 – ปัจจุบัน ศึกษาต่อปริญญาเอก ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประสบการณ์การทำงาน
- ปี 2522 - 2527 ช่วงเป็นนักศึกษา ม.ศิลปากร
- ฝ่ายสาราณียากร และฝ่ายประชาสัมพันธ์ในสโมสรนักศึกษา ม.ศิลปากร
- ฝ่ายสาราณียากรสโมสรนักศึกษา 18 สถาบัน
- บรรณาธิการศิลปะนิตยสาร “คู่ทุกข์-คู่ยาก”
- ฝ่ายศิลป์นิตยสาร “เพื่อนการ์ตูน” ร่วมงานกับ เตรียม ชาชุมพร, โอม รัชเวทย์
- บรรณาธิการศิลปะบริษัท “BKK 200”
- รับจ้างเขียนภาพเหมือนหน้ากรมศิลปากร ในวันเสาร์-อาทิตย์
- เขียนการ์ตูนล้อการเมืองให้หนังสือพิมพ์ “ซันเดย์ มิเรอร์” ของ ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์
- เขียนภาพประกอบให้นิตยสาร “โลกศิลปะ” และ “ฟีลลิ่ง”
- เขียนภาพประกอบสิ่งพิมพ์ ให้มูลนิธิ โกมล-คีมทอง
- ปี 2527 - 2528 ART-DIRECTOR บริษัท ลีโอ-เบอร์เน็ตต์ ดีทแฮล์ม แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด
- ปี 2528 - 2534 บรรณาธิการศิลปะนิตยสาร “หมอชาวบ้าน”
- ปี 2534 - 2538 กองบรรณาธิการศิลปะ นิตยสาร “รักลูก”
- ปี 2538 - 2541 บรรณาธิการศิลปะนิตยสาร “สารคดี “
- ปี 2541 - 2550 อาจารย์ระดับ 7 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ธนาลงกรณ์
- ปี 2550 อาจารย์พิเศษ Webster University อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี สอนวิชา ART 1000 Introduction to Studio Art [ Sping Semester 2007 ] + [ Fall semester 2007 ]

รางวัล
- รางวัลที่ 1 ประกวดภาพเขียนในนิตยสารการ์ตูนต่างๆ ช่วงปี พ.ศ.2517 - 2519 รวม 17 ครั้ง
- รางวัลที่ 1 ออกแบบ LOGO งานกีฬาสีชาวแปลน ของ PLAN GROUP ปี พ.ศ.2535
- รางวัลที่ 1 การประกวดวาดภาพคนเหมือนด้วยสีชอล์ค งาน " ถนนคนเดิน " ครั้งที่ 1 ถ.ท่าพระจันทร์ ปี 2541
- รางวัลที่ 1 ออกแบบ LOGO ประหยัดพลังงานของโครงการหาร 2 ปี พ.ศ. 2546
- รางวัลที่ 1 ประกวดคำขวัญประหยัดพลังงานของโครงการหาร 2 ปี พ.ศ. 2546
- รางวัลชมเชย การประกวดภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 3 ของสมาคมผู้จัดพิมพ์และzผู้จัดจำหน่าย
หนังสือแห่งประเทศไทยปี 2546 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- รางวัลชมเชย การประกวดภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 4 ของสมาคมผู้จัดพิมพ์และzผู้จัดจำหน่าย
หนังสือแห่งประเทศไทยปี 2547 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- รางวัลชมเชย การประกวดภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน ครั้งที่5 ของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่าย
หนังสือแห่งประเทศไทย 6-10 กรกฎาคม 2548 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ที่ทำงานปัจจุบัน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ธนาลงกรณ์
666 อาคารธนาลงกรณ์ ชั้น 7 ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700
โทร. 02-446-8132 , แฟกซ์ : 02-446-8133 E-mail : dinhin2503@yahoo.com http://www.flickr.com/photos/46401501@N00/

ที่อยู่ปัจจุบัน
81 / 144 หมู่ที่ 5 หมู่บ้านปริญลักษณ์ ถ.นวมินทร์ (ระหว่างซอย 52 – 54 ) แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม.10240
โทรบ้าน : 02-3790472 มือถือ : 086-9001177

ประวัติการแสดงงานศิลปะ
2526 - แสดงงานสีน้ำ กลุ่ม 4 คน สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน (เกอเธ่) ถ. พระอาทิตย์ กทม.
2528 - แสดงงาน กลุ่ม 2 คน กับ วสันต์ สิทธิเขตต์ ณ บริติซ เคาน์ซิล สยามสแควร์ กทม.
2539 - แสดงงาน ภาพประกอบ 2 คน อาร์ต ฟอรัม ถนนประดิพัทธ์ 10 สะพานควาย กทม.
2540 - แสดงงานเดี่ยว “ แม่กับลูก ” บริเวณชั้น 1 เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กทม.
2542 - แสดงงานสีน้ำ กลุ่ม 4 คน ริมสวนแกลลอรี่ โรงแรมฟอร์จูนทาวน์ ถ.รัชดาภิเษก กทม.
- ร่วมแสดงงานแสดงงาน “โครงการแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรม ไทย-ญี่ปุ่น” ที่ Shuwa Gallerly Ginza Japan
- ร่วมแสดงงานในโอกาสเปิดหอศิลป์คุณคำอ้าย เดชดวงตา จ.ลำปาง
- แสดงงานกลุ่ม 4 คน Graffixcenter หอศิลป์สวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กทม
2544 - แสดงงานกลุ่ม EMOTION ครั้งที่ 1 ชุด Still Life วันที่ 2 – 27 กุมภาพันธ์ หอศิลป์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
- ร่วมแสดงงาน ในโอกาสแสดงงานนิทรรศการเดี่ยวของอาจารย์กิตติศักดิ์ อริยะเครือ ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 4 ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ ถ.เจริญกรุง สี่พระยา กทม.
- ร่วมแสดงงานศิลปะวันศิลป์ พีระศรี ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หัวข้อ “ภาพเหมือนศิลปิน”
- ร่วมแสดงงาน “โครงการแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรม ไทย-ญี่ปุ่น” ที่ Shuwa Gallerly Ginza Japan
- ร่วมแสดงงานศิลปกรรมเชิดชูอาจารย์สวัสดิ์ ตันติสุข ด้วยรักและศรัทธา ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสะพานผ่านฟ้า กทม. 2-21 สิงหาคม
- ร่วมแสดงงาน ในโอกาสแสดงงานนิทรรศการเดี่ยว วาดเส้นและจิตรกรรมชุด “สด สด ร้อน ร้อน” ของ อาจารย์ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กทม. วันที่ 24 พ.ย. – 8 ธ.ค. 2544
2545 - ร่วมแสดงงาน “นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยคณาจารย์สวนดุสิต ครั้งที่ 6 ” วันที่ 9 - 30 เมษายน 2545 ณ หอศิลป์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กทม.
- แสดงเดี่ยว ต้นฉบับภาพประกอบนิตยสาร “สารคดี” 41 ชิ้น ณ อาคารธนาลงกรณ์ ชั้น 6 วันที่ 10 พ.ค. – 30 มิ.ย.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- แสดงงานกลุ่ม EMOTION ครั้งที่ 2 ชุด ATMOSFRERE วันที่ 4- 18 มิถุนายน หอศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- ร่วมแสดงงานโครงการศิลปะกับชุมชนสันติอโศก ”รากแก้วแห่งชีวิต – ศิลปะกับวิญญาณทางสังคม” ระหว่างวันที่ 1 – 30 มิถุนายน 2545 ณ ชุมชนสันติอโศก เขตบึงกุ่ม กทม.
- ร่วมแสดงงานศิลปะเนื่องในโอกาสครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร “งานวาดเส้นร่วมสมัย” ระหว่างวันที่ 15 ก.ย. 45 - 5 ต.ค. 2545 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และ นำไปแสดงต่อที่ชั้น 4 เดอะสีลมแกลเลอเรีย กทม. 10 – 15 ตุลาคม 2545
- ร่วมแสดงงานนิทรรศการผลงานนักศึกษาและคณาจารย์ โครงการคณะการออกแบบ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตวิทยาเขตสุพรรณบุรี 15 – 30 พฤศจิกายน 2545 ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
2546
- ร่วมแสดงงานศิลปกรรมร่วมสมัยคณาจารย์ ครั้งที่ 7 วันที่ 14 - 30 มีนาคม 2546 ณ หอศิลป์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กทม.
- ร่วมแสดงงานศิลปะวันศิลป์ พีระศรี ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หัวข้อ “ความสุข”
- ร่วมแสดงงานกลุ่ม SED SEE ชื่องาน “DIFFERENT” หอศิลป์มูลนิธิปรีดีพนมยงค์ สุขุมวิท 55 7-20 พ.ย.
2547
- ร่วมแสดงงาน “โครงการแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรม ไทย-ญี่ปุ่น” ที่ TOKOHA Gakuen University, Japan
- ร่วมแสดงงานศิลปะ “มหกรรมเมล็ดพันธุ์สันติภาพเพื่อเด็กอิรัก” เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- ร่วมแสดงงาน “ 5 ทศวรรษ มหกรรมศิลปะศึกษา – ช่างศิลป “ ที่เดอะสีลมแกลเลอเรีย ถนนสีลม กทม. ส.ค. 47
- ร่วมแสดงงานศิลปะวันศิลป์ พีระศรี ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เดือนกันยายน
- ร่วมแสดงงงานและออกร้านจำหน่ายผลงานศิลปะ ของกลุ่ม ART MARKET ในงาน OTOP CITY ครั้งที่ 2 เมืองทองธานี วันที่ 18 -26 ธันวาคม จัดโดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
2548
- ร่วมแสดงงานนิทรรศการศิลปะ จัดโดยบริษัท HHK.จำกัด ที่ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี พ.ย.2548
- ร่วมแสดงงานนิทรรศการทัศนศิลป์ “ 75 ปี อารี สุทธิพันธุ์ ” หอศิลป์ เพาะช่าง ธ.ค.2548
- ร่วมส่งภาพเขียนสีชอล์กฝุ่น ภาพสมเด็จพระเทพฯเข้าประมูลงาน ”SEXY WINTER” ฉลองครบรอบ 3 ปี เซ็นซิโอคาราโอเกะ โรงแรมโซฟีเทล เซ็นทรัลพลาซา กรุงเทพฯ โดยคุณสุริยน ศรีอรทัยกุล ชนะการประมูลได้ในราคา 50,000 บาท รายได้ทั้งหมดมอบให้การกุศล เพื่อนำเงินไปซื้อเครื่องกันหนาว และเป็นค่าอาหารให้กับผู้ขาดแคลนทางภาคเหนือ
2549
- ได้รับเชิญจากบริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด เข้าร่วม กลุ่มศิลปิน ร่วมสร้างผลงานภาพ “๖๐” (หกศูนย์)
เพื่อร่วมเฉลิมฉลองสิรราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวง โครงการ MEGA ART EXPO 2006 วันที่ 22-24 มีนาคม 2549 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า
- ร่วมแสดงงานนิทรรศการศิลปะครั้งที่ 1 “MIND 2006” ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็คฮอลล์ 1 เมืองทอง
ธานี วันที่ 7 – 11 ธันวาคม 2549
2550
- ร่วมแสดงงานนิทรรศการศิลปะกับเด็กพิเศษ ในนิทรรศการศิลปะ The Art Exhibition and Therapy จัดโดย ชมรม
ศิลปะบำบัด แสดงงานที่โรงแรมตะวันนา ถ.สุรวงศ์ วันที่ 15 มีนาคม 2550 และแสดงงานครั้งที่ 2 ที่ ศูนย์การค้าริ
เวอร์ซิตี้ วันที่ 2 – 15 เมษายน 2550
- ร่วมแสดงงานศิลปะ“โฉมหน้าศิลปิน” (Artist Self-Portrait) ที่เดอะ สีลมแกลเลอเรีย มีนาคม 2550
เป็นนิทรรศการแสดงผลงาน Self-Portrait ของศิลปินจากทั่วฟ้าเมืองไทยกว่า 500 ท่าน

ประสบการณ์ทางศิลปะ
- ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินงานศิลปะเด็ก หลายครั้ง ช่วง ปี พ.ศ. 2535 – 2543
- ได้รับเชิญให้ไปเขียนภาพเหมือนแจกเด็กๆ ในงานประจำปีของโรงเรียนเศรษฐเสถียร ปี พ.ศ. 2542
- ได้รับเชิญให้ไปร่วมโครงการเขียนภาพเหมือน ในงานเฉลิมฉลองพิธีเปิดอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เพื่อหาเงินช่วยมูลนิธิ 14 ตุลา “รวมพลังแก้วิกฤติ ด้วยจิตใจเสียสละและกล้าหาญ” ระหว่างวันที่ 6-14 ตุลาคม 2544
ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กทม.
- ร่วมเป็นกรรมการตัดสินตัวต่อ LEGO หัวข้อ “ บ้านในจินตนาการ ” โดยเด็กและผู้ปกครอง จัดโดย บริษัท ปัญจทรัพย์ จำกัด วันที่ 19-22 ตุลาคม 2544 ที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ชั้น G
- เขียนภาพเหมือนด้วยสีน้ำรูป พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ทศวรรษคนพูดเพลง จัดทำเป็นโปสเตอร์งาน “สำนึกรักบ้านเกิด” แสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 9-10 พ.ย. 2544 จัดโดย กลุ่มดินสอสี
- เป็นกรรมการตัดสินการวาดภาพของเด็กอายุ 7-15 ปี หัวข้อ “ตลาดของฉัน” จัดโดย สถานีวิทยุ FM.96
ร่วมกับตลาดนัดสนามหลวง 2 วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2544 ที่ตลาดนัดสนามหลวง 2 พุทธมณฑลสาย 3
- ร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดวาดภาพกล้วยไม้กับอาจารย์สังคม ทองมี เด็กระดับอายุ 11-12 ปี หัวข้อ “5 ธันวา พฤกษาชาติ” วันพฤหัสที่ 6 ธันวาคม 2544 ที่สมาคมศิษย์เก่าอำนวยศิลป์ ถนนประชาชื่น
- เขียนภาพเหมือนในงานปิดถนนสีลมเที่ยงวันถึงเที่ยงคืน วันอาทิตย์ที่ 9/16 /23 ธันวาคม 2544
- ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยาย “การสร้างสรรค์ภาพประกอบ” ให้นักศึกษาปี 4 จำนวน 50 คน คณะศิลปกรรมศาสตร์ โปรแกรมออกแบบนิเทศศิลป์ วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2545 เวลา 13.00-17.00 น. ห้องประชุมปิ่นน้อย
อาคาร VERSUAL LIBRARY มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- ร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดภาพวาดของเยาวชน หัวข้อ “ในฐานะเยาวชน ฉันจะมีส่วนร่วมในการลดและแยกมูลฝอยเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานครได้อย่างไร” ของสำนักรักษาความสะอาด ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2
ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง วันพฤหัส ที่ 21 มีนาคม 2545
- เป็นวิทยากรสอนศิลปะเด็กในโครงการอบรมศิลปะเด็กภาคฤดูร้อน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
หอศิลป์ กรุงเทพฯ สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ปี พ.ศ.2544 ถึงปัจจุบัน
- ร่วมเป็นวิทยากร “ การอบรมการระบายสีน้ำระบบ AS.S. [ Aree Suttipan System ] ” จัดโดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ คณะกรรมการ “ทัศนศิลป์ 72 ปี ศาสตราจารย์พิเศษอารี สุทธิพันธุ์
ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กทม. ระหว่างวันที่ 20-21 เม.ย. และ 27-28 เม.ย. 2545
- เป็นวิทยากรสอนศิลปะเด็กในโครงการอบรมศิลปะเด็ก ในเครือซีเมนต์ไทย “เยาวชนกับน้ำ” ณ ริมสระน้ำ สนามกอล์ฟสวนรถไฟ จตุจักร กรุงเทพฯ วันที่ 22 เมษายน 2545 เวลา 13.00 – 15.00 น.
- ศึกษาดูงานศิลปะและวัฒนธรรมที่ประเทศญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว และเมืองนิกาตะ 5 – 17 เมษายน 2545
- ร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 2 วันที่ 27 สิงหาคม 2545 ของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
- เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง”ทฤษฎีสี” แก่บุคคลภายนอกที่มาอบรมการสร้าง WEBSITE ศูนย์พณิชยการสยาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เดือนเมษายน-มิถุนายน 2546 จำนวน 3 ครั้ง
- ร่วมเขียนภาพในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปี ๑๔ ตุลา ที่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อนำผลงานจัดแสดงบริเวณรอบๆ สนามหลวง ของสมาคมแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย
- ศึกษาดูงานศิลปะและวัฒนธรรมที่นครเสฉวน มณฑลเฉินตู สาธรณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๗ ตุลาคม ๔๖
- ร่วมออกร้านจำหน่ายผลงานศิลปะ ART MARKET ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ กรุงเทพฯ เฉพาะในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ตลอดเดือนพฤษภาคม 2547 และได้เขียนภาพเหมือนแจกคนที่มาเที่ยวชมงาน
- ได้รับเชิญให้เขียนภาพเหมือนแจกแขกที่มาร่วมงานวันเกิดครบ 60 ปี ม.ร.ว. จักรรถ จิตรพงศ์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 11 กรกฎาคม 2547 และมีโอกาสได้เขียนภาพเหมือนสมเด็จพระเทพฯ ต่อหน้าพระพักตร์ ด้วยสีชอล์กฝุ่น
- ศึกษาดูงานศิลปะและวัฒนธรรมที่หอศิลป์ของเมืองโฮจิมินต์ซิตี้ ประเทศเวียตนาม เดือนตุลาคม 2547
- ร่วมกับเพื่อนๆ กลุ่ม ART MARKET เขียนภาพเหมือนหาเงินบริจาคช่วยผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ภาคใต้ วันที่ 2 - 3 มกราคม 2548 ที่ห้างมาบุญครอง
- ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินโครงการประกวดหนังสือดีเด่น ประเภท “นิยายภาพ ( การ์ตูน )” เซเว่นบุ๊ค อวอร์ด ครั้งที่ 2 จัดโดย เซเว่น – อีเลฟเว่น ธ.ค. 2548
- พานักศึกษา เขียนภาพเหมือนหาเงินบริจาคช่วยผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ภาคใต้ วันที่ 17 มกราคม 2548
ที่ห้างมาบุญครอง เซนเตอร์
- พานักศึกษาฝีมือดีๆ 5 คน เขียนทั้งการ์ตูนล้อและภาพเหมือนแจกผุ้มาเที่ยววันเด็ก ที่ทำเนียบรัฐบาล 8 มกราคม 2548
- บริจาคภาพเขียนให้สำนักศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม 1 ภาพ เพื่อนำไปประมูล หารายได้ช่วยผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ภาคใต้
- ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษบรรยาย“ศิลปะกับการดูแลตัวเอง” ให้นักศึกษาภาคสมทบ โปรแกรมวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการจัดการ ศูนย์พณิชยการสยาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีนักศึกษาฟังบรรยายจำนวน 50 คน เวลา 18.00 - 20.00 น. วันพุธที่ 12 มกราคม 2548 และวันเสาร์ที่ 15 / 22 มกราคม 2548
- ออกแบบโปสเตอร์และแผ่นพับการประกวดภาพวาด และประกวดเรียงความ “เด็กและเยาวชนไทย ร่วมใจไม่สูบบุหรี่” จัดโดยกรมสรรพสามิต / มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต / จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ร่วมเป็นกรรมการตัดสินคัดกรองรอบแรก การประกวดภาพวาด “เด็กและเยาวชนไทย ร่วมใจไม่สูบบุหรี่” จัดโดยกรมสรรพสามิต / มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- เขียนภาพประกอบโปสเตอร์และแผ่นพับ สมัครคัดเลือกอาสาสมัคร “พลเมืองใหม่ เครือข่ายประชาธิปไตย”
- พานักศึกษา 2 คน เข้าร่วมกิจกรรม Magic Crayon อบรมการวาดเส้นด้วยแท่งเกรยองดำ โดย วิทยากร อ.ประเทือง เอมเจริญ ในวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2548 เวลา 13.00 – 17.00 น. ณ หอศิลป์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินงานประกวดกระทงและนางนพมาศ จัดโดยโรงเรียนวิมลพณิชยการ ศรีย่าน 16 พ.ย.48
- ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดวาดภาพสดของเด็ก งานวันเด็กแห่งชาติ จัดโดยเทศบาลเมืองบางกรวย
จ.นนทบุรี วันที่ 11 มกราคม 2549
- ได้รับเชิญร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนา International Conference TAM 2006 พูดในหัวข้อ “Youth Development Strategies Using Cartoons” 14 มกราคม 2549 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- ได้รับเชิญร่วมเป็นวิทยากรใน โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครูปฏิบัติการสอนสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ครูการ์ตูนไทย หัวใจวัฒนธรรม ) พูดเรื่อง “การ์ตูน สื่อปฐมภูมิเข้าถึงหัวใจเด็ก” 9 ธันวาคม 2548 ณ โรงแรมอเล็กซานเดอร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ
- เป็นกรรมการตัดสินคัดกรองรอบแรก การประกวดภาพวาด “จิตรกรน้อย ดัชมิ้ลค์ คิดส์ ” จัดโดยบริษัท แปลน พับลิชชิ่ง จำกัด / มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต วันที่ 16 ธันวาคม 2548
- เป็นวิทยากรสอนเด็กเขียนการ์ตูนลงบนเสื้อ จัดโดยหมู่บ้าน PERFECT PLACE 3 ที่ รามคำแหง / แจ้งวัฒนะ / รัตนาธิเบศร์ แต่ละที่สอนเฉพะวันเสาร์ ใช้เวลาครั้งละ 3 ชั่วโมง ในช่วงเดือน ธันวาคม 2548
- ออกแบบเวทีงานวันเด็ก จัดโดยกรมสรรพสามิต ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ เสาร์ 14 มกรา 2549
- ได้รับเชิญร่วมเป็นวิทยากรโครงการอบรมปฏิบัติการเรื่อง ”การบูรณาการความรู้ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมไทย : ทัศนศิลป์ในการเรียนการสอนและส่งเสริมการอ่าน ระดับมัธยมศึกษา” วันที่ 30-31 มีนาคม 2549 ณ ห้องประชุมสำนักหอสมุดแห่งชาติ
- ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษบรรยาย “ศิลปะกับการเขียนการ์ตูน” ผ่านระบบ วีดีโอ คอนเฟอรเรนซ์ ให้นักศึกษาภาคปกติ โปรแกรมต่างๆ ที่เรียนวิชา สุนทรียภาพของชีวิต ทั้งในมหาวิทยาลัยและศูนย์การศึกษานอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีนักศึกษาฟังบรรยายจำนวนประมาณ 3,500 คน วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2549 เวลา 08.00 - 11.00 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- เป็นวิทยากรสอนศิลปะเด็กในโครงการอบรมศิลปะเด็กภาคฤดูร้อน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรุงเทพฯ
สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปี วันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2549 - 1 พฤษภาคม 2549
- ร่วมเป็นวิทยากรอบรมเทคนิคการการ์ตูนแก่คุณครูอนุบาลทั่วประเทศ ร่วมกับทีมงาน เซีย ไทยรัฐ ที่ โรงเรียนสมาคมสตรี หัวข้อ “คุณครูวัยใส หัวใจการ์ตูน” วันเสาร์ที่15 กรกฎาคม 2549
- ร่วมเป็นกรรมการตัดสินการ์ตูนนิยายภาพของบริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) ในโครงการประกวดหนังสือดีเด่น เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 3 / ส.ค. 2549
- ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินงาน ศิลปะเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส แข่งขันวาดภาพสด “การ์ดนี้เพื่อน้อง” ครั้งที่ 4
จัดโดยมูลนิธิสร้างเสริมไทย 14 ตุลาคม 2549 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- ได้รับเชิญร่วมเป็นวิทยากรสอน ” การ์ตูนจินตนาการ” ทุกวันเสาร์ ระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 4 พฤศจิกายน 2549 ณ หอศิลปะแห่งชาติ 5 ถ.เจ้าฟ้า กทม.
- เป็นวิทยากรสอนเด็กเขียนการ์ตูน ที่โรงเรียนพุทธธรรม และโรงเรียนสัมมาสิกขา สันติอโศก ทุกวันอาทิตย์
- รายการทีวีอาสา ติดต่อให้พานักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ราชภัฏสวนดุสิต 25 คน เขียนภาพรอบๆ กำแพงสวนสัตว์ดุสิต วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2550 เพื่อเป็นการปรับปรุงทัศนียภาพให้สวยงามและเป็นการอาสาช่วยเหลือสังคม และออกรายการวันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2550 เวลา 16.00 -17.00 น. ทาง ITV.
- ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินงาน ศิลปะเด็ก แข่งขันวาดภาพสด “ โครงการ”วันรวมศิษย์พระธรรมวิทยากร” ครั้งที่ 40 ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู เขตพระนคร กทม.วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ทั้งระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
- ศึกษาดูงานศิลปะและวัฒนธรรมที่เมืองหลวงพระบาง - เวียงจันทร์ ประเทศ สปป.ลาว 13 – 17 เมษายน 2550
- แปลและเรียบเรียงบทความศิลปะ Egon Schiele จาก http://www.artchive.com/ ลงในวารสารของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมษายน 2550
- เขียนบทความ “ศิลปะ…ไม่เหมาะกับเด็กไทย” ลงในวารสารของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดสิต พฤษภาคม 2550
- ได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษรายวิชาภาพประกอบ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา
- ได้รับเชิญเป็นวิทยากรร่วมอบรมการเขียนภาพประกอบนิทานเด็ก ในงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 5 วันที่ 29
กรกฎาคม 2550 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการเขียนภาพประกอบ ที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วันที่ 1 สิงหาคม 2550

9 พ.ค. 2549


Egon Schiele
แปลจาก http://www.artchive.com/

Egon Schiele เป็นศิลปินคนหนึ่งที่ถูกจับตามองมากที่สุดในยุคต้น คศ.1900 เขาได้รับอิทธิพลทางศิลปะจาก Gustav Klimt ศิลปินในยุคเดียวกัน แต่ทว่าความสำเร็จของ Egon ช่างสั้นยิ่งนัก เพราะ Egon ได้เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 28 ปีเท่านั้น และเส้นทางแห่งความสำเร็จของ Egon ยังไม่ราบรื่นเท่าที่ควรอีกด้วย Arthur Roessler นักเขียนผู้ให้การสนับสนุน Egon อธิบายถึงลักษณะของ Egon ว่า “เขามีรูปร่างผอมสูง ปราศจากกล้ามเนื้อ ไหล่แคบ มีมือที่ผอมแห้งและนิ้วที่เรียวยาว มีผิวหน้าที่เกรียมแดด ไม่มีร่องรอยของหนวดเครา ทรงผมกะเซิงไม่เป็นระเบียบ หน้าผากเป็นเหลี่ยมสัน มีลักษณะของคนขี้โรค เป็นคนพูดน้อยแต่มีวาจาคมคาย แววตาคมขรึม แต่เป็นเปิดเผย และจริงใจ”

Adolf Schiele บิดาของ Egon ทำงานที่สถานีรถไฟในเมือง Tully ซึ่งเป็นสถานีสำคัญแห่งหนึ่ง ของประเทศออสเตรีย ในปี คศ.1890 Adolf ได้ให้กำเนิดบุตรชาย นั่นก็คีอ Egon และในปี คศ.1901 Egon ได้ย้ายจากเมือง Tully ไปยังเมือง Kerm และ Klostenbreg ตามลำดับเพื่อหาโรงเรียนที่เหมาะสม ในปี 1904 ครอบครัวของ Egon ได้ย้ายตาม Egon มาเนื่องจาก Adolf ผู้เป็นบิดามีสุขภาพทรุดโทรม และเสียชีวิตลง ขณะอายุได้ 54 ปี ยังความเสียใจให้กับ Egon เป็นอย่างมาก ดังจดหมายฉบับหนึ่งที่เขียนถึงลูกพี่ลูกน้องของเขา “ ฉันไม่นึกถึงใครอีกเลย ที่จะแสดงความเสียใจ หรือรำลึกถึงความดีของพ่อ เวลาที่ฉันกลับไปเยี่ยมเมืองที่พ่อเคยอาศัย ฉันก็รู้สึกเสียใจทุกครั้ง ฉันเชื่อในเรื่องของชีวิตอมตะ นั่นเองเป็นเหตุที่งานเขียนของฉันถึงออกมาในลักษณะนั้น เพราะว่าพ่อได้สถิตย์อยู่ในตัวฉันแล้ว และแม่ของฉันผู้น่ารังเกียจ เธอไม่ได้เศร้าเสียใจเลยกลับการจากไปของพ่อแม้แต่น้อย และเธอยังไม่เอาใจใส่ลูกของเธอเลย และก็ไม่รักฉันเท่าที่ควรด้วย การเลี้ยงดูลูกสำหรับเธอนั้น ราวกับต้องพลีชีพแลกเลยทีเดียว”

ในช่วงวัยหนุ่มของ Egon นั้นเขามีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับน้องสาวของเขา “Gerti” .ในลักษณะหมิ่นเหม่ไปในทางชู้สาว ในขณะที่ Egon อายุ 16 และน้องสาวอายุ 12 เขาพาน้องสาวท่องไปยังเมือง Triest โดยนอนร่วมกันห้องคู่เป็นเวลาหลายคืน และอีกหลายครั้งที่เขาและเธอทำลับๆ ล่อๆ สองต่อสองภายในบ้านของเขาเอง

ในปี ค.ศ.1906 Egon ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนศิลปะ ที่กรุงเวียนนา ณ ที่แห่งนั้นเองที่ Egon มีโอกาศได้พบกับ Gustav Klimp ซึ่งเป็นรุ่นพี่ในสถาบันเดียวกัน และ Egon ก็ได้ให้ความนับถือเป็นอย่างมาก ซึ่งตัว Klimp เองก็ชื่นชมในพรสวรรค์ ของ Egon เช่นกัน Klimp ให้การสนับสนุน Egon ด้วยการซื้อภาพ, แลกเปลี่ยนผลงาน,จัดหานางแบบมาให้เขียนรูป ตลอดจนฝากฝัง Egon เข้าทำงานที่ The winter werkstte (workshop งานฝีมือในกรุงเวียนนา) ในปี 1908 ที่นั่น Egon ได้ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ เช่น เสื้อคลุม, รองเท้าสุภาพสตรี, ออกแบบ postcard และไนปีเดียวกันนั้นเองเขาก็ได้แสดงผลงานการออกแบบของเขา ซึ่งเป็นการแสดงผลงานครั้งแรก ณ เมือง Klosterneuberg

ในปีค.ศ. 1909 ภายหลังจากที่ Egon ได้จบการศึกษา เขาได้เช่าแฟลต และ studio ในกรุงเวียนนา พร้อมกับเริ่มทำงานศิลปะ ย่างจริงจัง ในช่วงนี้เอง ที่เขาเริ่มการเขียนภาพของสตรีวัยแรกรุ่น ซึ่งเขามีอิสระมากขึ้น มีโอกาส ทำในสิ่งที่เป็นข้อห้ามในวัยเด็กได้มากขึ้น Egon ได้วาดภาพจากเหล่านางแบบ ไว้มากมาย ซึ่งภาพส่วนใหญ่ล้วนแสดงออก ถึงความรู้สึกทางเพศอย่างรุนแรง ในช่วงเวลาที่ Egon มีชีวิตอยู่นั้น ดูเหมือนเขาต้องการ ถ่ายทอดความรู้สึก ออกสู่สาธารณะชน ถึงแม้นว่าคนในยุคนั้นจะไม่สามารถ รับรู้ได้ทั้งหมด แต่จากภาพถ่ายและข้อความในจดหมาย ก็แสดถึงความทุกข์ระทมอย่างสาหัส และอธิบายถึงความรู้สึก มุ่งร้ายของคนในสังคม ที่มีต่อเขาได้อย่างชัดเจน

ในปี ค.ศ. 1911 Egon ได้พบกับ Wally Neuzill ซึ่งได้ชอบพอกันอยู่ระยะหนึ่ง Wally เป็นหนึ่งในนางแบบที่ Egon สร้างผลงาน ออกมามากที่สุดคนหนึ่ง และเธอเองก็เป็นนางแบบส่วนตัวของ Klimp ด้วย...... หลังจากคบกันอยู่พักหนึ่ง Egon และ Wally ได้ ย้ายมายังเมือง Krumau เพื่ออยู่ร่วมกับครอบครัวของเขา แต่ก็ไม่สามารถ เข้ากับครอบครัวของ Egon ได้ และย้ายต่อมายังเมือง Neulengbach ชึ่งอยู่ห่างจากกรุงเวียนนา ประมาณครึ่งชั่วโมงหากเดินทางโดยรถไฟ หลังจากที่เขาย้อนกลับมาที่เวียนนา studio ของเขากลับกลายเป็นแหล่งมั่วสุม ของเด็กมีปัญหาในระแวกนั้น ทำให้ Egon ถูกสังคมรังเกียจมากขึ้นอีก โดยที่ไม่ใช่ความผิดของเขาเลย

ในเดือน เมษายน ปี ค.ศ.1912 Egon ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมและยึดภาพเขียนของเขา ที่ส่อไปในทางลามกอนาจารจำนวนนับร้อยภาพ พร้อมกับถูกคุมขังโดยถูกตั้งข้อกล่าวหา ล่อลวง และกระทำอนาจาร ถึงแม้ว่า ข้อหาล่อลวงจะมีหลักฐานอ่อน Egon ก็ยังคงถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า แสดงนิทรรศการศิลปะเชิงสังวาส (Erotic) โดยให้เด็กเข้าชมได้ เขาถูกศาลสั่ง คุมขัง 21 วันพร้อมกับเผางานของ Egon ทิ้งไปจำนวนหนึ่ง....ในระหว่างที่ Egon ถูกจำคุกอยู่นั้น เขาได้เขียนภาพออกมาชุดหนึ่ง เป็นงานภาพเหมือนตัวเอง (self-portraits) ทว่าเขาไม่ได้รู้สึกว่าเขาผิดเลย ในทางกลับกัน Egon คิดว่า การกำหนดขอบเขต ของการวาดภาพต่างหาก ที่เรียกว่าอาชญากรรม มันเหมือนเป็นการฆ่าเขาทางอ้อม

ในปี ค.ศ.1912 Egonได้เป็นศิลปินรับเชิญในนิทรรศการศิลปะ Sonderbun ณ เมือง Cologn ในที่นี่เขาได้มีโอกาศรู้จักกับ Hans Goltz นายหน้าค้างานศิลปะ ในเมืองมิวนิค ความสัมพันธ์ของทั้งสอง ตั้งอยู่บนผลกำไร และตัวของ Egon เองก็ปรารถนาที่จะขายงานของตน ได้ในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งดูเหมือน Egon จะยอมรับสิ่งเหล่านั้น ด้วยความภาคภูมิใจ ดังใจความในจดหมาย ที่เขาเขียนถึงแม่ ด้วยความยินดีว่า “เกียรติยศ และความภาคภูมิใจ รวมอยู่ในตัวฉันแล้ว ฉันเหมือนธัญพืช ที่กำลังผลิดอกออกผล ภายหลังจากที่ ผ่านมรสุมอันเลวร้าย แม่จะภูมิใจขนาดไหนนะ ที่ได้เป็นผู้ให้กำเนิด Egon ผู้นี้”

ในปีค.ศ. 1915 ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ก็เริ่มต้นขึ้นกับชีวิตของ Egon เขาได้พบกับ Edith ผู้เป็นบุตรสาวของหัวหน้าช่างทำกุญแจ ที่เปิดร้านด้านฝั่งตรงข้ามกับ studio ของเขา และในเดือนเมษายน 1917 Egon ก็ได้บอกเลิก Wally Neuzil แล้วหมั้นกับ Edith แทน ส่วน Wally ได้เข้าทำงานที่หน่วยกาชาด และเสียชีวิดด้วยไข้อีดำอีแดง ในโรงพยาบาลทหารของเมือง Dalmatia ก่อนช่วงคริสมาส ในปี 1917 ส่วน Egon และ Edith ได้สมรสกันในปี 1915 ในปีเดียวกัน หลังจากที่ Egon สมรสได้ 4 วันเขาได้รับหมายทหาร เรียกให้เข้าประจำการ เขาถูกจัดให้อยู่รวมกับ เชลยศึกชาวรัสเซีย ในตำแห่งเสมียน ในค่ายกักกัน ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรีย ในปี 1914 Egon ได้เขาได้ย้ายมาประจำยังหน่วยกองหน้า โดยประจำอยู่ในฝ่ายจัดหาเสบียง ให้กับทหาร ซึ่งถือเป็นตำแน่งที่สบายในขณะนั้น
แม้ว่า Egon จะเข้าประจำการในกองทัพ แต่ชื่อเสียงในฐานะศิลปินรุ่นใหม่ก็หาได้ลดน้อยลงไม่ เขาเป็นหนึ่งในศิลปินรุ่นใหม่ที่อายุน้อยที่สุด และยังได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลให้แสดงงานในต่างประเทศหลายครั้งเช่น ใน กรุง Stokhome และ กรุง Kopenhagen เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ในการเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจของประเทศออสเตรียอีกด้วย

ในปี ค.ศ.1912 Egonได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการแสดงศิลปกรรม “Sezession ครั้งที่ 49” โดยเขาได้ออกแบบ Poster ขึ้นมาชิ้นหนี่ง เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ การรำลึกถึงพระเจ้า โดยที่ Egon ได้เขียนภาพอาหารมื้อสุดท้าย (The last supper) โดยเขียนใบหน้าของตนเองแทนพระพักตร์ของพระคริสต์ ถึงแม้ว่าจะได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง แต่งานในครั้งนั้นก็สำเร็จลงด้วยดี ทำให้ Egon มีชื่อเสียงเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับที่ผลงานของเขามีราคาสูงขึ้นอีก 3 เท่าตัว และ Egon ยังได้รับข้อเสนอให้เขียนภาพเหมือนบุคคลเป็นจำนวนมากอีกด้วย

Egon และ Edith ได้ย้ายมาอยู่ในบ้าน และ studio หลังใหม่ ซึ่งใหญ่โตโอ่โถง ดูเหมือนชีวิตใหม่ของ Egon กำลังโรยด้วยกลีบกุหลาบ หากแต่ว่าความสุขนั้นอยู่กับ Egon ได้ไม่นาน ในวันที่ 19 ตุลาคม 1918 Edith ซึ่งกำลังตั้งครรภ์ ได้ติดเชื้อไข้หวัดชนิดหนึ่ง (Spanish influenza) ซึ่งระบาดในประเทศแถบยุโรปในขณะนั้น เธอเสียชีวิตในวันที่ 28 ตุลาคม 1918 ยังความสลดใจอย่างมากแก่ Egon และเขาก็เสียชีวิตด้วยโรคเดียวกัน ในวันที่ 31 ตุลาคม 1918 ปีเดียวกัน เป็นการปิดฉากชีวิตอันน่าเศร้าของศิลปินผู้ยิ่งใหญ่นาม Egon Schiele

………………………………………………………….


PORTRAIT of NORMAN ROCKWELL

self portrait

Norman Rockwell
แปลจาก FAMOUS AMERICAN ILLUSTRATORS

ในขณะที่มันอาจจะไม่ใครรู้จักดีเหมือน Cooperstown’ s Hall The Illustrators Hall of Fame (ที่แสดงเกียรติคุณของนักเขียนภาพแทรก) ที่ยังคงเป็นที่ที่ดีที่สุดของสายวิชาที่เกี่ยวกับความเพ้อฝัน “ Zoltan Body ” เขียนไว้ในบทความหนึ่งที่บรรยายงานจัดแสดง The Soiety of Illustrator Hall of fame ที่ Lowe Gallery ใน Syracuse University เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 1997
The Hall of fame ก่อตั้งในปี 1957 โดยสมาคมของนักเขียนภาพแทรกโดย Willis Pyle เป็นผู้สถาปนา และประธานกรรมการซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขาได้โดยความสามารถเป็นเวลา 36 ปี เหตุผลในการจัดตั้งสมาคม Illustrator Hall of fame คือความเรียบง่ายที่อยู่ใน Cooperstown เพื่อรวบรวมและระลึกถึงบุคคลสำคัญในสาขาวิชา
ครั้งหนึ่งในแต่ละปี คณะกรรมการของ Hall of fame ซึ่งประกอบด้วยอดีตประธานของสมาคมนักเขียนภาพแทรกที่สำคัญๆ มาพบกันเพื่อเลือกผู้นำคนใหม่ เป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งในปี 1958 ที่นักเขียนภาพแทรกคนแรกได้รับรางวัลอันมีเกียรติคือ Norman Rockwell เป็นคนเดียวที่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นนักเขียนภาพแทรกที่มีอิทธิพลและคนรักมากที่สุดและผลงานของเขาและผลงานของเขาก็ทำให้สิ่งพิมพ์ดูสวยงามเสมอมา
ต่อมาผู้นำคือ Winslow Homer นักเขียนภาพแทรกและนักหนังสือพิมพ์ผู้อัจฉริยะในระหว่างสงครามกลางเมือง Charles pana Gibson ผู้สร้างสรรค์ภาพอมตะชื่อ The Gibson Girl J.C. Leyentecker ผู้วาด Arrow Collar Man ซึ่งเป็นผลงานที่สมบูรณ์เทียบเท่ากับ Gatsby ของ Escott Fitzgerald Janes Montgomery Flagg
นักเขียนภาพแทรกเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างจากสมุดรายชื่อซึ่งรวมทั้ง 87 ศิลปิน ที่มีการลงสี ดินสอ ปากกา ความฝัน ความมุ่งมาดปรารถนา ความหวัง และความกลัวของประชาชนกับความสามารถอันยิ่งใหญ่ อารมณ์อันเร้าร้อนและจินตนาการของพวกเขา
ศิลปินเป็นสิ่งที่มาจากภาพวาดของธรรมชาติ มีความคิดดื้อรั้น และมีความไม่ธรรมดาอยู่เสมอ ถึงแม้เป็นความคิดที่พร้อมเพรียงกันก็ตาม ความเหมือนที่น่าสนใจในการตอบสนองในการเรียนรู้คือพวกเขาเลือกที่จะเข้าสมาคม Illustrator Hall of fame
ในปี 1992 Joe Bowler ผู้ซึ่งมีรูปแทรกเกี่ยวกับบทความปรากฏเป็นประจำในแมกกาซีนสำคัญๆ เป็นเวลา 4 ปี กล่าวว่า “น่าเคารพอะไรเช่นนี้ แปลกใจเหลือเกิน การตอบสนองครั้งต่อไปของผมเป็นการพูดที่พรั่งพรูจากจิตใจ ของผู้ที่ยิ่งใหญ่, มีชื่อเสียงที่รวบรวมใน Illustrators Hall of fame และกระตือรือล้นเหลือเกิน ในการที่จะให้ความเคารพใครที่อยู่ในระดับเดียวกับคุณระหว่างชีวิตของคุณเป็นพรสวรรค์อันแท้จริง”
ในปี 1995 James Avati เป็นผู้วาดปกหนังสือเกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงพื้นที่ ซึ่งถูกนิยามถึงคนประเภทนั้นในปี 1940-1950 และ 1950-1960 เขียนไว้ว่า ผมซาบซึ้งเหลือเกินที่ผมถูกพิจารณาว่าสมควรได้รับการเคารพจากบุคคลในระดับเดียวกัน
Rudyard Kipling ที่ครั้งหนึ่งบรรยายงานสื่อมวลชนกับวรรณคดีในเวลาเร่งด่วน ฉันเชื่ออย่างจริงใจว่าหนังสือเล่มนี้เสนอถึงหลักฐานที่ยิ่งใหญ่ว่านักเขียนภาพแทรกเป็น “วิจิตรศิลป์บนเส้นตาย”
มันเป็นรักแรกพบระหว่าง Norman Rockwell และ The Saturday Post (ชื่อ นสพ.) เป็นความสัมพันธ์ที่เจริญรุ่งเรืองเป็นเวลากว่า 40 ปี หลังจากการเขียนภาพแทรกให้กับแมกกาซีน Boy ’ Life ในช่วงวัยรุ่นของเขาตอน Rockwell อายุ 21 ปี เขานำความกล้าหาญไปหาผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของ นสพ. (The Saturday Everning Post) ซึ่งเป็นผู้ซื้อภาพแทรก 2 ภาพในทันทีและมอบหมายให้อีก 3 งาน ประการแรกของ Rockwell ปรากฏขึ้นในวันที่ 20 พฤษภาคม 1916 ตามด้วยกว่า 300 ชิ้นในปีนั้น
Rockwell ออกจากโรงเรียนตอนอยู่เกรด 10 (ม.4) เพื่อศึกษาที่ National Acadimy of Design and The Art students Lesgue เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้น Rokwell กระตือรือล้นที่จะสมัครเข้าเป็นทหารเรือ แต่เมื่อเข้าประจำการแล้ว ปรากฎว่าเขาถูกมอบหมายให้สเก็ตซ์ภาพข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพและผู้มาเยี่ยม หลังการกลับสู่ชีวิตพลเรือนก็ประสบความรุ่งเรืองโดยลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ การวาดรูปแทรกของเขาเต็มไปด้วยความอบอุ่น และอารมณ์ขัน ซึ่งปรากฎใน แมกาซีน โปสเตอร์ ปฏิทิน และหนังสือ เขายังได้รับมอบหมายให้วาดรูปประธานาธิบดีของสหรัฐคนก่อนๆ และ บุคคลที่มีชื่อเสียงของโลก
ในการวาดรูปของ Rocdwell ไม่มีที่ติ ซึ่งเป็นความสามารถของเขาที่รับเอามุมมองที่สะเทือนอารมณ์ในงาน เขาค่อยๆ ใส่ความคิดในงานของเขาเข้าสู่จิตใจของคนอเมริกา ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โปสเตอร์ “ Foor Freecoms” มีส่วนช่วยให้ขายสูงถึง 132 ล้านเหรียญในการขาย “War band” หนึ่งใน Series “Freedom of speeh” อยู่ใน collection ที่พิพิธภัณฑ์ศิลป์ Metropolitan ภาพ “ Freedom From Fear ” ของเขาแสดงถึงสิทธิ การทำอย่างไรที่เข้าสู่ความรู้สึกของเสรีภาพ ผ่านทางรูปแบบที่แสดงท่าทางของความรักและผ่อนคลาย สีที่ละมุนละไมและ แสงที่นุ่มนวล อบอุ่นในโถงบันได บอกถึงความเอาใจใส่ในความจริงที่ว่ามันเป็นตอนเย็น
ในปี 1958 Rockwell นักวาดภาพแทรกคนแรกที่ถูกชักจูงเข้าสู่สมาคมของ Illustrators Hall of fame และปีถัดมาเขามีชื่อเป็นศิลปินแห่งปีโดย The Artists Guild of New York
Rockwell ย้ายไปที่ Stockbridge , Massachusetts ในปี 1959 และในที่สุดก็ไปที่ Vermont พิพิธภัณฑ์ Norman Rockwell ที่ Stockbridge เป็นการสรรเสริญต่อคนอเมริกันผู้นี้ที่ศิลปะของเขาสัมผัสถึงหลายๆ ล้านชีวิต

7 พ.ค. 2549


ประวัติความเป็นมาของ
การ์ตูนไทย
เรียบเรียงโดย นายดินหิน รักพงษ์อโศก

ว่ากันว่าคนเขียนการ์ตูนคนแรกของประเทศไทยก็คือ ขรัวอินโข่ง ซึ่งเป็นจิตรกรในสมัยรัชกาลที่ 3 - รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่สมัยนั้นภาพยังมีรายละเอียดต่างๆ เหมือนจริงอยู่
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงโปรดการวาดรูปล้อเหล่าเสนามหาอำมาตย์อยู่เสมอๆ มีการตีพิมพ์ภาพฝีพระหัตถ์ของพระองค์ลงหนังสือดุสิตสมัยด้วย ในยุคนี้ภาพล้อหรือการ์ตูนในเมืองไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น และในช่วงนี้นี่เองที่มีนักวาดการ์ตูนการเมืองคนแรกขึ้นมา คือนายเปล่ง ไตรปิ่น ลักษณะภาพจะเป็นลายเส้น สไตล์ฝรั่ง เนื้อหาเสียดสีล้อเลียนการเมือง สำหรับนายเปล่งนี้ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต"
เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7 วงการการ์ตูนซบเซาลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ จวบจนปี 2475 ซึ่งประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้นักเขียนการ์ตูนมีเสรีภาพในการเสนอความคิดเห็นมากขึ้น จึงทำให้มีนักเขียนการ์ตูนดังๆ เกิดขึ้นในยุคนี้หลายคน อย่างเช่น สวัสดิ์ จุฑะรพ ผู้นำวรรณคดีเรื่องสังข์ทองมาวาดเป็นการ์ตูนเรื่องยาวเรื่องแรกของประเทศไทยลงในหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ หลังจากนั้นก็ได้สร้างตัวการ์ตูน "ขุนหมื่น" โดยดัดแปลงมาจากป๊อบอายและมิกกี้ เมาส์ ตัวขุนหมื่นนี้มีบทบาทในหลายเรื่อง โดยเป็นตัวตลกแทรกอยู่ในการ์ตูนจักรๆวงศ์ๆ เรื่องต่างๆ และต่อมานักเขียนการ์ตูนคนอื่นๆ ก็เลยสร้างการ์ตูนตัวหลักของตัวเองขึ้นมาบ้าง
ในสมัยนั้นมีนักเขียนนำเรื่องวรรณคดีและเรื่องประวัติศาสตร์ต่างๆ มาวาดเป็นการ์ตูนแนวเดียวกับ สวัสดิ์ จุฑะรพ กันมากมาย อย่างเช่น วิตต์ สุทธิเสถียร , จำนงค์ รอดอริ ส่วนนักเขียนในยุคเดียวกันแต่วาดคนละแนวก็มี อย่างเช่น ฉันท์ สุวรรณบุณย์ ผู้บุกเบิกการ์ตูนสำหรับเด็กเป็นคนแรกของประเทศไทย
หลังสงครามโลก ประเทศไทยมีนักเขียนการ์ตูนเจ้าของฉายา "ราชาการ์ตูนไทย" นั่นคือ ประยูร จรรยาวงษ์ ซึ่งวาดทั้งการ์ตูนตลกและการ์ตูนการเมือง และในยุคเดียวกันนี้ก็มีนักวาดภาพประกอบผู้โด่งดังซึ่งเรารู้จักกันดีก็คือ เหม เวชกร ที่จริงแล้ว เหม เวชกร วาดการ์ตูนด้วยเหมือนกัน แต่เรามักจะรู้จักท่านจากภาพประกอบมากกว่า
ปี 2495 พิมล กาฬสีห์ ออกหนังสือการ์ตูน "ตุ๊กตา" ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็กเล่มแรกของเมืองไทย มีตัวละครหลักสี่คน คือ หนูไก่ หนูนิด หนูหน่อย และหนูแจ๋วจอมฮึ หลังจากนั้นก็มีการ์ตูนสำหรับเด็กออกมาอีกหลายเล่ม อย่างการ์ตูน "หนูจ๋า" ของ จุ๋มจิ๋ม ซึ่งเริ่มวางแผงเล่มแรกเมื่อเดือนมกราคม 2500 ปัจจุบันการ์ตูนหนูจ๋าเป็นการ์ตูนที่มีอายุยาวนานที่สุดที่ยังวางแผงอยู่ คือปีนี้เป็นปีที่ 43 และที่ได้รับความนิยมตามมาอีกเล่มก็คือการ์ตูน "เบบี้" ของ วัฒนา ซึ่งเริ่มวางแผงฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2504 ตัวการ์ตูนหลักของเบบี้นั้นมีมากถึงสิบกว่าคน บางตัวก็มีการนำไปแสดงหนังโฆษณาก็มี คือคุณโฉลงและคุณเต๋ว นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็กที่แฝงสาระมากอีกเล่มหนึ่งก็คือ ชัยพฤกษ์การ์ตูน ซึ่งมี ทาร์ซานกับเจ้าจุ่น เป็นตัวชูโรง ผู้วาดก็คือ รงค์ ปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ได้ปิดตัวไปแล้ว
นักเขียนคนอื่นในยุคนี้ที่มีชื่อเสียงก็อย่างเช่น พ.บางพลี , ราช เลอสรวง , จุก เบี้ยวสกุล ฯลฯ ซึ่งในยุคนี้ส่วนมากจะนิยมวาดการ์ตูนเรื่องกันมากกว่า บางเรื่องยาวเป็นร้อยๆ หน้า นับว่าเป็นยุคทองของการ์ตูนเรื่องทีเดียว แต่หลังจากนั้นก็มีการ์ตูนเล่มละบาทซึ่งส่วนใหญ่จะเล่มเดียวจบออกมา และจะไม่ค่อยพิถีพิถันในการผลิตสักเท่าไหร่ พวกการ์ตูนเรื่องก็เลยค่อยๆ หมดความนิยมไป จนกระทั่งถูกการ์ตูนญี่ปุ่นเข้ามาครองตลาดแทน
แต่ขณะเดียวกันก็มีหนังสือการ์ตูนตลกที่รวมผลงานของนักเขียนหลายๆ ไว้ในเล่มได้รับความนิยมอย่างมากควบคู่มากับการ์ตูนเรื่องล้วนๆ อย่างเช่น การ์ตูนขายหัวเราะ (เริ่มวางแผงเมื่อปี 2516) การ์ตูนมหาสนุก (เริ่มวางแผงเมื่อปี 2518) และปัจจุบันนี้การ์ตูนขายหัวเราะก็กลายเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีนักเขียนประจำร่วม 30 คน ในขณะที่พวกการ์ตูนเล่มละบาท (ปัจจุบันกลายเป็นเล่มละ 5 บาทแล้ว)ซบเซาไป และนักเขียนการ์ตูนเรื่องยุคใหม่ก็จะต่างกับสมัยก่อน คือสมัยนี้จะได้รับอิทธิพลจากการ์ตูนญี่ปุ่นแทนการรับอิทธิพลจากการ์ตูนฝรั่งอย่างสมัยก่อน
ความหมายของคำว่าการ์ตูน
การ์ตูน เป็นคำทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า Cartoon ซึ่งสันนิษฐานว่ามีรากศัพท์มาจากคำว่า คาโตเน Cartone ในภาษาอิตาลี ซึ่งหมายถึงแผ่นกระดาษที่มีภาพวาด ต่อมาความหมายของคำนี้อาจเปลี่ยนไป เป็นภาพล้อเลียนเชิงขบขัน เปรียบเปรยเสียดสี หรือแสดงจินตนาการฝันเฟื่อง แต่หนังสือบางฉบับกล่าวว่า การ์ตูนมาจากคำในภาษาละตินว่า Charta ซึ่งหมายถึงกระดาษ เพราะในสมัยนั้น การ์ตูนหมายถึงการวาดภาพลงบนผ้าใบขนาดใหญ่ วาดบนผ้าม่านหรือการเขียนลวดลายหรือภาพลงบนกระจกและโมเสก
การ์ตูนมีศัพท์ใกล้เคียงที่สามารถอธิบายได้ดังนี้คือ1.การ์ตูน (Cartoon) มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Carton หมายถึงรูปวาดบนกระดาษแข็งเพื่อความขบขัน เช่น ภาพล้อทางการเมือง วาดในกรอบและแสดงเหตุการณ์ที่เข้าใจได้ชัดเจนโดยง่าย และมีคำบรรยายสั้นๆ2.คอมมิก (Comic) เป็นลักษณะการ์ตูนที่มีความต่อเนื่องเป็นเรื่องเป็นราวมีคำบรรยาย มีบทสนทนาในแต่ละภาพ ลักษณะจะออกมาในเชิงภาพการ์ตูนที่ไม่เน้นความจริงของกายวิภาค3.นิยายภาพ ( Illustrated Tale) เป็นการเขียนเล่าเรื่องด้วยภาพเช่นกัน แต่ลักษณะ ภาพมีความสมจริงและเขียนถูกต้องตามหลักกายวิภาค (Anatomy) การเขียนฉากประกอบ การให้แสงเงา การดำเนินเรื่องต่อเนื่องตั้งแต่กรอบแรกจนกรอบสุดท้าย ไม่ข้ามขั้นตอนอันสามารถโน้มน้าวใจผู้อ่านให้คล้อยตามเนื่องเรื่องได้เป็นอย่างดี4.ภาพล้อ (Caricature) เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า Caricare หมายถึง ภาพวาดที่ใช้ล้อเลียนหรือเสียดสี วาดในลักษณะที่ตัดทอนหรือทำให้รูปลักษณ์บุคลิกผิดส่วนออกไป เช่น เน้นลักษณะเด่นเฉพาะตัวของบางคนให้ดูมากเกินความเป็นจริง รวมทั้งเน้นในจุดอื่นๆ เช่น ชนชั้นทางสังคมหรือสถาบันต่างๆ ภาพล้อใช้เป็นเครื่องปลุกความรู้สึกนึกคิด ก่ออารมณ์ตอบโต้ให้เกิดแก่ผู้ดูตั้งแต่อารมณ์ขันเบาๆ จนกระทั่งถึงความรู้สึกโกรธแค้นรุนแรง เป็นวิถีทางในการสร้างภาพประกอบเรื่องที่ได้ผลดี เป็นเครื่องมือที่ดีในการวิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นในเรื่องของสังคมศาสนา และการเมืองลักษณะภาพการ์ตูน
ภาพการ์ตูนสามารถแบ่งออกได้ 4 ลักษณะ ดังนี้คือ

1. ภาพเลียนแบบธรรมชาติ (Natural Cartoon) ซึ่งยังแบ่งย่อยออกได้อีก 2 ลักษณะคือ คือ การ์ตูนรูปสัตว์ และการ์ตูนรูปคน ซึ่งการ์ตูนรูปสัตว์นั้นยังแบ่งได้อีกว่าเป็นรูปสัตว์ที่เหมือนสัตว์จริง หรือรูปสัตว์ที่มีกิริยาเหมือนคน
2. ภาพวิจิตร( Fine Cartoon) การ์ตูนที่เขียนอย่างสวยงามในลักษณะวิจิตร ศิลป์จนอาจถือได้ว่าเป็นงานศิลปะที่มีค่า
3. ภาพกราฟฟิก (Graphic Cartoon) เป็นการ์ตูนที่มีลักษณะเหมือนกับงานออกแบบ รูปร่างการ์ตูนมักเป็นรูปง่ายๆทางเรขาคณิต มักระบายสีเรียบๆไล่น้ำหนักเล็กน้อย มีขอบเขตการลงสีเส้นขอบชัดเจนในลักษณะเดียวกับงานกราฟฟิก4.การ์ตูน 3 มิติ (Three Dimension Cartoon) คือการทำให้การ์ตูนเป็นรูป 3 มิติก่อน เช่นสร้างจากดิน ดินน้ำมัน ไม้ พลาสติก ฯลฯ แล้วนำมาถ่ายเป็นภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติอีกครั้ง ซึ่งถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ยังสามารถใช้เทคนิคทำให้หุ่นการ์ตูนนั้นเคลื่อนไหวได้ (Animation) เหมือนมีชีวิตจริง
ประเภทของการ์ตูน
อาจแบ่งประเภทหรือคุณประโยชน์ในการใช้ภาพได้ 7 ประเภท

1.ภาพล้อสังคม (Gag Cartoon) จะเป็นภาพเชิงล้อ โดยนักเขียนภาพล้อโดยเฉพาะ นิยมพิมพ์ในหนังสือและนิตยสาร ที่ออกสม่ำเสมอ
2.ภาพล้อการเมือง (Political and Editional Cartoon) เป็นภาพล้อผู้บริหารประเทศด้านการเมือง และการปกครองโดยมีจุดมุ่งหมายกระตุ้นให้ผู้อ่านเห็นในเชิงตรงกันข้ามหรือขบขันเสียดสี
3.การ์ตูนโฆษณา (Commercial Cartoon) คือการใช้การ์ตูนที่ใช้ในงานโฆษณาชวนเชื่อในสินค้าของตน ลักษณะการ์ตูนอาจเป็นรูป 2 มิติ หรือหุ่น 3 มิติ
4.การ์ตูนประชาสัมพันธ์ (Public Relations Cartoon) ลักษณะเดียวกับการ์ตูนโฆษณา แต่ต่างกันที่วัตถุประสงค์ว่าเป็นการ์ตูนที่ใช้ประดับตกแต่ง เพื่อกระตุ้นการบอกข่าวแจ้งข่าวให้ผู้อื่นทราบโดยมิได้มุ่งหวังผลทางด้านการค้า เช่นการ์ตูนโฆษณาการไปรษณีย์
5.การ์ตูนล้อเลียน (Caricature Cartoon) เป็นการ์ตูนที่เขียนล้อเลียนบุคคลให้ดูตลกขบขัน โดยวาดบุคลิกลักษณะเกินความจริง
6.การ์ตูนเรื่องยาว (Comic Strip Cartoon) เป็นการ์ตูนที่ใช้ดำเนินเรื่องราว หรือประกอบนิทานนิยายต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเป็นตอนๆ ไม่ใช่จบในช่องเดียวเหมือนภาพล้อ
7.ภาพยนตร์การ์ตูน (Animation Cartoon) หมายถึงการทำภาพวาดการ์ตูนให้ออกมาเป็นภาพยนตร์โดยการวาดการ์ตูนลงบนแผ่นใสแล้วถ่ายเป็นภาพยนตร์ให้มีลักษณะการเคลื่อนไหวเหมือนมีชีวิตจริง
…………………………………………………………………………………………………………………………

ความคิดสร้างสรรค์
(Creative Thinking)
เรียบเรียงจากบทความเรื่อง การเขียนสร้างสรรค์ โดย พิศมัย อำไพพันธุ์
.................................................................................
Smiths ได้ใช้ความหมายว่าความคิดสร้างสรรค์หมายถึง ความสามารถที่จะเชื่อมโยง หรือผสมผสานประสบการณ์เก่าเข้ากับประสบการณ์ใหม่ ผลงานนั้นไม่จำเป็นต้องใหม่ต่อโลกแต่ใหม่สำหรับแต่ละบุคคล
คำว่า Creative Thinking เมื่อแปลเป็นไทยมักจะใช้คำไทยว่า ความคิดสร้างสรรค์ แต่มีอยู่ท่านหนึ่งใช้แตกต่างจากท่านอื่น คือ มล.ตุ้ย ชุมสาย ท่านแปลคำนี้ว่า ความคิดสรรสร้าง โดยให้เหตุผลว่า สรรสร้าง หมายถึง การคัดเลือกเอาความคิดต่าง ๆ ในรูปของจินตนาภาพ (image) มาสร้างขึ้นให้มีกระสวน (Pattern) หรือรูปแบบขึ้นใหม่ การคัดเลือกนั้นคือการคิด ดังนั้นการคัดเลือกเอาความคิดบางประการมาสร้างเป็นกระสวนหนึ่งกระสวนใดขึ้นใหม่ จึงเป็นการเลือกสร้าง มล.ตุ้ย ชุมสาร จึงใช้คำว่า “สรรสร้าง” แทนคำ สรรค์สร้าง หรือสร้างสรรค์ ซึ่งใช้กันทั่วไปในการแปลคำว่า Creative
ความคิดสรรสร้าง หรือพฤติกรรมสรรสร้างอาจปรากฏในรูปคัดเลือกความคิด 2-3 อัน ขึ้นมาสร้างเป็นอะไรอย่างหนึ่งก็ได้ และการที่จะได้ความคิดที่ดีที่สุดเราจะต้องเลือกความคิดที่ถูกต้องรวมกันเข้าเป็นหน่วยได้
Guiford ได้ศึกษาและสรุปพฤติกรรมเกี่ยวกับการคิดว่ามีด้วยกัน 2 แบบ ใหญ่ ๆ คือ การคิดแบบเอกนัย (Convergent Thinking) เป็นการคิดทางเดียวเป็นกระบวนการแก้ปัญหาซึ่งแคบ และมีทางเลือกน้อยจนได้วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเท่าที่คัดได้จากสิ่งแวดล้อมของปัญหานั้น จึงเป็นแบบที่เรียกว่า ความคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) โดยต้องใช้เหตุผลอย่างกว้างขวาง อีกแบบหนึ่งคือ การคิดแบบอเนกนัย (Divergent Thinking) เป็นการคิดหลายทาง ต้องอาศัยจินตนาการ (Imagination) การแว่บคิด (Intuition) และความตั้งใจจริง
การคิดหลายทางหรือการคิดแบบอเนกนัยนี้เอง Guilford กล่าวว่า เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่จะต้องประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการ คือ
1. ความคล่องในการคิด (Fluency)
2. ความยืดหยุ่น (Flexibility)
3. ความคิดริเริ่ม (Originality)
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

1. ความคล่องในการคิด หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน แบ่งออกเป็น
1.1 ความคิดคล่องแคล่วในด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
1.2 ความคิดคล่องด้วนการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในเวลาที่กำหนด
1.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค หรือความสามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
จากการวิจัยพบว่าบุคคลที่มีความคล่องแคล่วด้านการแสดงออกสูงจะมีความคิดสร้างสรรค์
2. ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ประเภทหรือแบบของความคิดแบ่งออกเป็น
2.1 ความคิดยืดที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดให้หลายอย่างอิสระ เช่น คนที่มีความคิดยืดหยุ่นประเภทนี้ จะนึกประโยชน์ของก้อนหินว่า มีอะไรบ้างหลายอย่างในขณะที่คนคิดที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างเท่านั้น
2.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านดัดแปลง (Adaptive Flexibility) คนที่มีความคิดนี้จะคิดได้ไม่ซ้ำกัน เช่น ในข้อ 1 ในเวลา 2 นาทีท่านลองคิดว่า หลอดกาแฟจะทำอะไรได้บ้าง คนที่คิดคล่องจะคิดได้มากในเวลาเท่า ๆ กัน
3. ความคิดริเริ่ม หมายถึง ลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างไปจากความคิดธรรมดา เป็นความคิดที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ เป็นความคิดที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น คนที่เรียนศิลปะการพับกระดาษรู้ความคิดเดิมว่าพับรูปหนึ่งเป็นรูปดอกไม้ เมื่อพลิกกลับอีกด้านเติมหน้าตาก็กลายเป็นรูปสุนัขหรือแมว กระดาษที่พับเป็นสุนัขหรือแมวนั้น จัดว่าเกิดขึ้นจากความคิดดัดแปลงให้เป็นความคิดริเริ่มใหม่ ไม่ซ้ำแบบที่เคยมีอยู่แล้ว เป็นต้น
4. ความละเอียดลออในการคิด ความคิดต่าง ๆ 3 ประการที่เป็นองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ หากปราศจากความคิดละเอียดลออก็ไม่อาจทำให้เกิดผลงานหรือผลผลิตสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ ความละเอียดลออในการคิดขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ ประสบการณ์ และความสามารถด้วย ผู้มีอายุมากจะมีความละเอียดลออในการคิดมากกว่าผู้มีอายุน้อย เด็กหญิงจะละเอียดลออกว่าเด็กชายและเด็กที่มีความสามารถสูงทางด้านความละเอียดลออ จะเป็นเด็กที่มีความสามารถทางด้านสังเกตสูงด้วย
ในบรรดาความคิดทั้งหลาย ความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เกิดการค้นพบสิ่งแปลก ๆ ใหม่เกิดเทคโนโลยีก้าวหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งที่ครูจะต้องช่วยปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก อีกทั้งช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่แล้วในตัวเด็กให้เจริญสูงสุดอีกด้วย เพราะการเก็บกดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอาจนำไปสู่ปัญหาด้านบุคลิกภาพได้

ธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์
1. ความจริงพื้นฐานข้อแรก คือ ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์โดยกำเนิดแต่มากน้อยต่างกัน แล้วแต่บุคคลและสิ่งแวดล้อม
2. ความคิดสร้างสรรค์สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญา จากการศึกษาของ Getzel และ Jackson พบว่าบุคคลที่มีเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียวก็ไม่ใช่สิ่งที่จะประกันว่ามีความคิดสร้างสรรค์สูง ทุกคนมีความสามารถทางศิลปะเชิงสร้างสรรค์
จากการศึกษาของ Torrance พบว่า I.Q.Test ไม่สามารถจำแนกบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ ถ้าใช้ I.Q.Test เป็นเกณฑ์สำหรับเลือกเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์จะเสียเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ไปประมาณ 70% ทั้งนี้เพราะไม่สามารถวัดคุณลักษณะของนักสร้างสรรค์ได้
ดังนั้นในการนำหลักพื้นฐานนี้มาสอนภาษา ก็ต้องรู้ว่าภาษาก็เช่นเดียวกันกับความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับระดับเชาวน์ ปัญญา
3. ความคิดสร้างสรรค์เป็นทั้งขบวนการและผลิตผล
4. ความคิดสร้างสรรค์หมายถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. ความคิดสร้างสรรค์เป็นชุดของคุณลักษณะ ลักษณะนิสัยและค่านิยม
6. ความคิดสร้างสรรค์ เป็นวิธีการของการเรียนรู้ที่แตกต่างจากวิธีธรรมดาที่สอนกันอยู่ในโรงเรียน

ขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนของการเกิดขึ้นของแนวคิดใหม่ ๆ ในลักษณะริเริ่มสร้างสรรค์ได้รับการศึกษาวิจัยจากประวัติของบุคคลและเหตุการณ์ต่าง ๆ มากพอสมควร พอสรุปได้ว่า มักมีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นรวบรวมข้อมูล (Saturation) คือ สถานการณ์ที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ข้อมูล เรื่องราว ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ หรือเรื่องคล้ายคลึงกันจนเต็มอิ่มแล้วรอการดลใจที่จะให้เกิดความคิดออกมา
2. ขั้นพิจารณาไตร่ตรอง (Deliberation) หมายถึง การพินิจพิจารณาตรึกตรองปัญหาอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง แล้วนำมาวิเคราะห์วิจัย เปรียบเทียบดูแล้วลองจัดระบบใหม่ หรือคิดจากแง่มุมต่าง ๆ กัน
3. ขั้นบ่มหรือฟักตัว (Incubation) ถ้าได้พยายามอย่างมากตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว ความคิดยังไม่เกิด ก็หยุดพัก อย่าฝืนความคิด หรือบังคับสมองแต่ตรงข้าม ควรลืมปัญหาเสียชั่วขณะ ไปพักผ่อนหย่อนใจให้สมองสดชื่น อาจจะเกิดความคิดใหม่ ๆ
4. ขั้นความคิดกระจ่างชัด (Illumination) ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า คนเรามีจิตใต้สำนึก (Subconcious) ที่จะช่วยให้เราเกิดความคิดแว่บขึ้นมาในสมอง ผ่านจิตใต้สำนึกทำให้เกิดความสว่างไสวในจิตใจและเกิดแว่บขึ้นมาได้
5. ขั้นทำความคิดให้เป็นจริง (Accomodation) เมื่อเกิดความคิดขึ้นแล้ว ไม่รีบทำให้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาโดยเร็ว โดยทำให้ความคิดให้กระจ่างแจ้ง และพิจารณาดูว่าเหมาะสมเข้ากันได้กับปัญหาดังที่คิดไว้แต่แรกหรือไม่ แล้วก็สร้างให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา พร้อมทั้งวางแผนด้านปฏิบัติ เพราะความคิดที่เกิดขึ้นแล้วหากไม่สร้างไม่ทำให้เป็นรูปเป็นร่าง ไม่ใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็เหมือนกับไม่เกิดอะไรขึ้นเลย
ท่านผู้รู้เชื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์ซ่อนอยู่ในขั้นตอนทั้ง 5 ที่กล่าวแล้วและผู้ใดก็ตามที่มีความฉลาดตามสมควรก็อาจมีความคิดริเริ่มได้ ถ้าได้ฝึกฝนให้เกิดขึ้นเสมอ
นอกจาก 5 ขั้นตอนนี้แล้ว หากจะเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้ดีขึ้นก็ต้องพยายามขจัดเครื่องกีดขวางบางประการ เช่น ขนบประเพณี และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความนึกคิดของคนเรา เรามักจะทำอะไรตามความเคยชิน ไม่กล้าที่จะคิดอะไรแปลกใหม่

ลักษณะพฤติกรรมความคิดสร้างสรรค์
อารี รังสินันท์ กล่าวถึง ลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ดังนี้
1. อยากรู้อยากเห็น มีความกระหายใคร่รู้เป็นนิจ
2. ชอบแสวงหา สำรวจ ศึกษา ค้นคว้า และทดลอง
3. ชอบซักถาม และถามคำถามแปลก ๆ
4. ช่างสงสัย เป็นเด็กที่มีความรู้สึกแปลก ประหลาดใจในสิ่งที่พบเห็นเสมอ
5. ช่างสังเกต มองเห็นลักษณะที่แปลก ผิดปกติ หรือช่องว่างที่ขาดหายไปได้ง่ายและรวดเร็ว
6. ชอบแสดงออกมากว่าจะเก็บกด ถ้าสงสัยสิ่งใดก็จะถามหรือพยายามหาคำตอบโดยไม่รั้งรอ
7. มีอารมณ์ขัน มองสิ่งต่าง ๆ ในแง่มุมที่แปลกและสร้างอารมณ์ขันอยู่เสมอ
8. มีสมาธิดีในสิ่งที่ตนสนใจ
9. สนุกกับการใช้ความคิด
10. สนใจสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
11. มีความเป็นตัวของตัวเอง
ลักษณะพฤติกรรมดังกล่าวมีในเด็กไทยแต่เดิม มักจะถูกจำกัดว่าเป็น “เด็กซน” และก็มักจะมีคำคล่าวต่อว่า เด็กซนเป็นเด็กฉลาดหรือเด็กซนเป็นเด็กดื้อ ถ้าถูกมองในลักษณะว่าเด็กซนเป็นเด็กฉลาด และได้รับการส่งเสริมอย่างถูกหลักวิชาการ ก็อาจช่วยเสริมสติปัญญาเลิศให้แก่เด็กได้ แต่ถ้าถูกมองว่าเด็กซนเป็นเด็กดื้อ และปฏิบัติต่อเด็กอย่างไม่ถูกวิธี อาจทำลายลักษณะพฤติกรรมสร้างสรรค์ให้ลดน้อยถอยลงไปได้เช่นกัน
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ มักชอบแสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ ในด้านต่าง ๆ ตามความถนัดและความสนใจ อาจจะแสดงออกทางด้านศิลปะ ดนตรี ภาษา หรืออื่น ๆ เราอาจจะดูความสามารถในการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ ได้จากสื่อมวลชนที่ส่งเสริมการแสดงออก เช่น โทรทัศน์รายการสำหรับเด็กและเยาวชน ในรายการสโมสรผึ้งน้อย เด็ก ๆ ได้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความสามารถทางภาษา ดนตรีและ ศิลปะการแสดง ในสื่อมวลชนอื่น เช่น นิตยสาร วารสารที่เปิดคอลัมน์สำหรับเด็ก เป็นต้น


วิธีเขียนการ์ตูน
โดย อ.ประยูร จรรยาวงษ์

1. ถ้าเรารู้จักมันแล้วเขียนไม่ยาก
2. การ์ตูนเกิดจาก เส้น + รูปทรง ประกอบเข้าด้วยกัน
3. รูปทรงจะโย้ – บิดเบี้ยว คือธรรมชาติของภาพการ์ตูน
4. การ์ตูน คือ ภาพโย้
5. ใครๆ ก็สามารถเขียนได้
6. ไม่มีกติกาที่ยุ่งยาก ซับซ้อน
7. เป็นภาพที่ ไม่มีผิดไม่มีถูก

จะเขียนการ์ตูนได้อย่างไร


1. ต้องมีความอยากเขียนอย่างแรงกล้า โดยไม่ท้อถอย
2. มีความเพียรอย่างบ้าคลั่ง
3. อย่าเขียนแต่การ์ตูน แต่สนใจความรู้ให้รอบด้าน
4. เริ่มต้นจากเขียนภาพเหมือนจากของจริงหรือสิ่งมีชีวิตและวัตถุสิ่งของ
5. เขียนภาพเหมือนควบคู่ไปกับเขียนการ์ตูน+อ่านหนังสือ ดูการ์ตูน
ของคนอื่นให้หลากหลายสร้างปัญญา
6. หาทางใกล้ชิดคนที่เขียนการ์ตูนเก่งๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
และเป็นการเติมไฟให้ตัวเองตลอดเวลา
7. ความลำบากตรากตรำคือชีวิตประจำวัน ไม่มีวันหยุด
8. การทำงานกับการพักผ่อนอยู่ในตัวเดียวกัน
9. เมื่อเขียนภาพเหมือนจนมือเข้าฝักแล้ว ให้ดัดแปลงภาพเหมือนจริง
นั้น ให้ โย้เย้ ยืด และ หด ดัดแปลงเป็นการ์ตูน
10. ภาพการ์ตูนนั้นดัดแปลงมาจากภาพเหมือน จึงต้องหัดเขียนภาพ
เหมือนจากชีวิตจริงทุกวัน
11. เขียนทุกๆ วัน เพราะเป็นการฝึกทักษะ ให้เกิดความชำนาญ
12. หากเขียนตัวหนังสือบรรจงได้สวยเท่าไหร่ เราก็จะเขียน
ตัวหนังสือหวัดได้สวยด้วยเท่านั้นเช่นเดียวกันกับการ์ตูน
13. ถ้าจะเขียนการ์ตูน ล้อการเมือง จะต้องฝึกปัญญา การ์ตูนก็จะ
ฉลาดแหลมคมขึ้น จากการอ่าน ... อ่านหนังสือ ทุกๆ ประเภท เป็น
การบริโภคข้อมูลใส่ในหัว
14. พหูสูต รู้รอบตัว สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะการ์ตูนที่จะต้องคิดแก๊ก
15. อบายมุข 6 ( ดื่มน้ำเมา, เที่ยวกลางคืน, ดูการละเล่น, เล่นการพนัน, คบคนชั่วเป็น
มิตร, เกียจคร้านการงาน ) เป็นอันตรายอย่างยิ่งในการทำลายปัญญา
16. คบคนดี มีความรู้ เป็นมิตร จะเป็นศรีแก่ตัว
17. ต้องฝึกความชำนาญ ควบคู่กับฝึกความรู้คู่คุณธรรม-จริยธรรม
18. ต้องให้แน่ทั้ง ฝีมือ และแน่ทั้งไอเดีย
19. จะต้องตั้งใจที่จะอยากดัง ในการเขียนการ์ตูนจึงต้อง อ่าน ๆ ๆ ๆ ๆ
+ ฝึกเขียน รูป ๆ ๆ ๆ ๆ วันละหลายๆ ชั่วโมงฝึกให้ติดเป็นสันดาน
ประจำตัว
20. การ์ตูนต้องใช้ความชำนาญมาก จึงต้องเพียร เขียนไม่ได้ก็ต้อง
เขียนให้จงได้ เขียนแล้วทิ้ง เขียนแล้วทิ้ง สม่ำเสมอติดต่อกัน อย่า
ย่อท้อ เพราะมันคือความพ่ายแพ้ อย่าให้มันเกาะกุมหัวใจเราได้
21. เมื่อเขียนได้แล้ว หยุดไม่ได้ ขืนหยุดเมื่อไหร่ มือตกเมื่อนั้น ต้อง
ทำงานหนักไปจนวันตาย
22. ดูผลงานการ์ตูนคนอื่นให้มากๆ เพื่อปรับปรุงงานของเราให้ดีขึ้น


สรุป จงเป็นนักเรียนวาดเขียนตั้งแต่หนุ่มสาวจนแก่
อย่าว่างเว้นสักวันเดียว หากรักจะเอาดีทางด้านนี้


“ ถ้าเราชอบที่จะวาดรูปประกอบ ถ้ามันสิ่งที่เรารัก เราต้องพยายามทำออกมาให้มันดี และก็ต้องสร้างโอกาสให้ตัวเอง ถ้าวาดออกมาดีแล้ว
นั่งอยู่กับบ้านเฉยๆ มันก็คงเป็นไปไม่ได้ ต้องออกไปเสนองานว่าจะมีใครชอบหรือเปล่า ”

3 พ.ค. 2549














หั ว ใ จ แ ล ะ เ ท ค นิ ค
การทำภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก
โดย ; นายดินหิน รักพงษ์อโศก

ภาพประกอบนิทานที่เด็กชื่นชอบ
ภาพประกอบนิทานสำหรับเด็กที่ดี ควรมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1. มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
2. สนุกสนาน จับใจเด็ก
3. มีความจริงใจในทางศิลปะ
4. ช่วยสนับสนุนให้เนื้อเรื่อง เกิดความชัดเจนสมบูรณ์

นักวาดภาพประกอบสำหรับเด็กที่ดี
ผู้ที่เป็นนักวาดภาพประกอบสำหรับเด็กที่ดี ควรเตรียมตัวเองให้พร้อมในเรื่องต่อไปนี้
1. ทำความเข้าใจในเนื้อเรื่องอย่างแจ่มแจ้ง ต้องรู้ว่า "หัวใจ" สำคัญที่สุดที่ผู้เขียนเรื่องต้องการบอกเด็กๆ คืออะไร ถ้าจะเปรียบไป นักวาดภาพประกอบก็คล้ายนักแสดงที่จะต้องตีบทให้แตก การแสดงนั้นจึงจะสมทบบทบาท ต่างกันตรงที่ผู้วาด "แสดง"ผ่านภาพที่สร้างขึ้น
2. รู้ใจเด็ก นักวาดภาพประกอบสำหรับเด็กที่ดี จำเป็นต้องศึกษาจิตวิทยาเด็กขั้นพื้นฐาน เพราะธรรมชาติความสนใจของเด็กจะแตกต่างกับความสนใจของผู้ใหญ่ที่เราคุ้นเคย เช่น เด็กเล็ก ๆ จะสนใจภาพที่ไม่ซับซ้อนมาก สีสันสดใสในขณะที่เด็กโตชอบดูภาพที่มีรายละเอียดมากขึ้น เวลาดูภาพ เด็กๆ จะเป็นนักเก็บรายละเอียดตัวยง ต่างกับผู้ใหญ่ที่มักจะดูภาพแบบองค์รวม โทนสีที่เบาเกินไปจะทำให้เด็กเบื่อง่าย แต่โทนสีแรงเกินไปก็อาจทำให้เด็กๆ ตื่นกลัวได้ อารมณ์ขันเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้เด็กรู้สึกสบายใจ ไว้วางใจ และอยากอ่านหนังสือเล่มนั้นๆ บ่อยๆ
ยิ่งเราเข้าใจเด็กมากเท่าใด ภาพของเราก็จะเป็นที่ถูกใจนักอ่านตัวน้อยๆ มากขึ้นเท่านั้น
3. มีทัศนคติที่ดีต่องานสร้างสรรค์ภาพประกอบสำหรับเด็ก นักวาดภาพประกอบสำหรับเด็กโดยเฉพาะในสังคมไทย ต้องทบทวนทัศนคติที่มีต่อวิชาชีพนี้ว่า ภาพประกอบสำหรับเด็กก็เป็นงานศิลปะอีกแขนงหนึ่งเช่นกัน ทั้งนี้เพราะสังคมไทยยังมิได้เห็นความสำคัญของ "วัยเด็ก" อย่างแท้จริง ดังนั้น สิ่งที่จะป้อนให้เด็กจึงมักไม่ใช่สิ่งที่กลั่นกรองกันมาแล้วอย่างดีที่สุด
ทัศนคติข้างต้นมีความสำคัญต่อผลงานที่จะเกิดขึ้น หาไม่แล้ว เราจะได้ภาพที่ทำหน้าที่เพียงแต่ประกอบเรื่องได้เป็นอันจบ ตรงกันข้าม หากเราเริ่มต้นการทำงานด้วยความคิดว่า เรากำลังสร้างสรรค์งานศิลปะที่ดีที่สุด งามที่สุดให้แก่เด็ก ก็เป็นที่คาดหวังได้ว่า เราน่าจะได้ภาพประกอบที่มีมิติแห่งความงาม และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยแท้

เทคนิคอะไรจึงจะเหมาะ
เมื่อนักวาดภาพประกอบสำหรับเด็กเตรียมตัวพร้อม ต่อไปในภาคปฏิบัติ คำถามที่มักตามมาก็คือ ควรใช้เทคนิคอะไรจึงจะเหมาะ จากประสบการณ์เราพบว่า เด็กๆ เป็นผู้ชมที่ไม่เรื่องมาก เขาสามารถรับและชื่นชมงานภาพประกอบที่สร้างด้วยเทคนิคอะไรก็ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำ สีชอล์ก สีโปสเตอร์ สีหมึก จะเป็นกี่สีก็ดี สีเดียวก็ได้ จะเป็นภาพปั้น ภาพประดิษฐ์ 2 มิติ 3 มิติก็ได้ และเชื่อว่าหากจะมีศิลปินท่านใดค้นคว้าเทคนิคที่แปลกไปกว่านี้สักแค่ไหน เด็กๆ ก็คงได้รับได้อีกเช่นกัน
ดังนั้นเทคนิคอะไรก็ไม่สำคัญ แต่สำคัญตรงที่ว่าเราเลือกใช้เหมาะกับเนื้อเรื่องไหม สอดคล้องกับผู้อ่านหรือเปล่า และเรามีทักษะในการบังคับใช้เทคนิคนั้นๆ จริงแท้แค่ไหน เพราะสำหรับภาพประกอบนิทานสำหรับเด็กแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความมีชีวิตชีวา ความสนุกสนาน ที่ต้องดึงออกมาจากเนื้อเรื่องให้ได้มากกว่า แต่ถ้าเราสามารถทำภาพประกอบที่ทั้งสนุกและสวยได้ก็ถือว่าวิเศษสุด
การแบ่งฉาก
เนื่องจากการจัดพิมพ์หนังสือ มีความจำเป็นต้องกำหนดจำนวนหน้า ดังนั้นนิทาน 1 เรื่องจึงจำเป็นต้องแบ่งซอยเป็นฉากๆ ตามจำนวนหน้าที่สำนักพิมพ์กำหนด
ในขณะแบ่งซอยเนื้อเรื่อง ผู้วาดต้องออกแบบภาพประกอบพร้อมๆ กันไปด้วย เพราะเนื้อหากับภาพประกอบต้องอยู่อาศัยด้วยกันเสมอ ทั้งนี้ขนาดและเค้าโครงของภาพแต่ละฉากก็สามารถสร้างสรรค์ได้หลากหลาย แทบจะไร้ขีดจำกัด

การเผื่อพื้นที่สำหรับการวางตัวอักษร
เนื่องจากขนาดของตัวอักษรมีความสัมพันธ์กับอายุของผู้อ่านด้วย กล่าวคือ เด็กเล็กตัวอักษรควรโต แต่เด็กโต ตัวอักษรก็จะเล็กลงได้ ดังนั้น นิทานซึ่งเหมาะกับเด็ก 7-10 ปี จึงควรใช้ตัวอักษรขนาดประมาณ 20 p.(ป้อยท์)
ส่วนที่เหมาะสำหรับเด็กเล็กกว่าคือราว 5-7 ปี ควรใช้ตัวอักษรขนาดประมาณ 22 p.
อนึ่ง ข้อควรระวังสำคัญอีกข้อคือ ตำแหน่งที่วางตัวอักษร ในกรณีเนื้อหาแน่นมาก นอกจากจะต้องเผื่อพื้นที่ให้พอที่จะลงตัวอักษรได้ครบแล้ว ยังต้องระวังไม่ให้ตัวอักษรเบียดภาพทำให้ดูอึดอัด และอีกประการหนึ่งไม่ควรวางตัวอักษรซ้อนภาพบริเวณที่เป็นจุดสำคัญหรือรายละเอียดและสีสันมาก เพราะจะอ่านยาก และตัวหนังสือควรเลือกแบบตัวหนังสือที่มีหัวกลม หรือใช้ลายมือเขียน
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจการทำภาพประกอบสำหรับเด็กไม่มากก็น้อย
……………………………………………………………………………………


ก า ร เ ขี ย น ภ า พ สีน้ำมัน
โดย ; นายดินหิน รักพงษ์อโศก

……………………………………………………………………………………………………
สีน้ำมัน (Oil color)
เป็นสีที่นิยมใช้ในงาน ศิลปะ มากว่า 500 ปี สืบเนื่องจากการที่มนุษย์ต้องการให้ภาพวาดของตนมีความคงทนถาวรมากกว่าการใช้น้ำผสมสี จึงมีการคิดนำเอาเนื้อสี จากธรรมชาติมาผสมกับน้ำมัน ศิลปินในอดีตนิยมใช้สีน้ำมันเนื่องจากมีความคงทน เก็บรักษาได้นานนับร้อยปี และเมื่อมีบริษัทผู้ผลิตคิดนำสีน้ำมันมาบรรจุหลอดขาย ก็ยิ่งทำให้การใช้งานสะดวกสบายขึ้น สีน้ำมันจึงเป็นที่นิยมของเหล่าศิลปินมาจนทุกวันนี้

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนภาพสีน้ำมัน

1.สีน้ำมัน (Oil color) ได้จากการนำผงสี มาผสมกับขี้ผึ้ง (beeswax) และน้ำมันที่สกัดจากพืช อาทิ safflower oil, popyseed oil, soybean oil เป็นต้น ปัจจุบันเราสามารถซื้อ สีน้ำมัน ที่บรรจุหลอดมาใช้ได้เลย ตัว สีน้ำมัน เองคือวัสดุหลักในการให้รูปทรง แสงเงา สีสันในการแสดงออกบนแผ่นระนาบรองรับ

2.ตัวทำละลาย สีน้ำมันสามารถละลายได้ในน้ำมันหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 ชนิดคือ
2.1 น้ำมันลินสีด (linseed oil) สกัดจากเมล็ดต้นแฟล็คซ์ (flax) ต้นไม้ที่เอาเส้นใย มาทำผ้าลินิน คุณสมบัติของน้ำมันลินสีด จะทำให้สีลื่นระบายได้ง่าย เมื่อแห้งแล้วจะมีลักษณะเป็นฟิล์มบาง ๆ เคลือบผิวภาพ ทำให้ภาพสีน้ำมันมีลักษณะมันเงาและทนทานมากขึ้น และยังเป็นตัวทำละลายที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะหาซื้อได้ง่าย ราคาถูก แต่ถ้าผ่านระยะเวลายาวนาน ลินสีดจะค่อยๆ เปลี่ยนสภาพจากเคลือบใส กลายเป็นสีเหลือง และสีน้ำตาลไหม้ในที่สุด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะใช้ระยะเวลานานหลายสิบปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันลินสีด
2.2 น้ำมันสน (Terpentine) เป็นตัวทำละลายชนิดแรง ไม่นิยมนำมาใช้ผสมกับสีน้ำมันโดยตรง แต่จะนำมาใช้ล้างพู่กัน หรือผสมร่วมกับน้ำมันลินสีดเพื่อให้มีความหนืดน้อยลง และแห้งเร็วขึ้น 2.3 ลิควิน (Liquin Medium) เป็นตัวทำละลายที่ใช้สำหรับผสมกับสีน้ำมันเพื่อให้สีไม่เหนียวหนืด ทำให้ระบายง่าย เหมาะที่จะใช้ในการสร้างรายละเอียดของภาพ การเกลี่ยสี และสามารถผสมให้สีน้ำมันมีลักษณะบางใสขึ้นเพื่อใช้ในการวาดแบบโปรงใสได้ด้วย คุณสมบัติเด่นอีกข้อหนึ่งของลิควินก็คือ ช่วยให้สีแห้งเร็ว 3. พู่กัน (Brush) พู่กันสำหรับระบายสีน้ำมันจะมีลักษณะขนที่แข็งกว่าพู่กันสีน้ำ เนื่องจากสีน้ำมัน มีคุณสมบัติหนืดเหนียว จำเป็นจะต้องใช้แรงสปริงของขนพู่กันในการระบาย อีกทั้งน้ำมันสนและน้ำมันลินสีดจะกัดขนพู่กันให้เสียหายได้ง่าย จึงควรเลือกใช้พู่กันให้ถูกต้อง

3.พู่กันสีน้ำมัน โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ
3.1 พู่กันขนแบน ใช้สำหรับระบายพื้นที่กว้าง ๆ แบน ๆ สีที่ระบายลงไปจะมีลักษณะแบนเรียบ
3.2 พู่กันขนกลม ใช้ระบายรายละเอียดต่าง ๆ และในบริเวณพื้นที่แคบ ๆ สีที่ระบายลงไปจะมีลักษณะผิวไม่เรียบมากนัก พู่กันกลมมักจะถูกนำมาใช้มากในการเกลี่ยสีให้กลมกลืนกัน
3.3 พู่กันขนพิเศษ เช่น พู่กันรูปพัด พู่กันปลายแตก ฯลฯ ใช้ระบายให้เกิดลักษณะผิวที่แตกต่างจากปกติ
4. แผ่นระนาบรองรับ (Canvas) แผ่นระนาบรองรับหมายถึงพื้นที่ ๆ เรานำสีหรือวัสดุวาดลงไปให้เกิดร่องรอยเป็นผลงานศิลปะขึ้น ในการทำงานศิลปะนั้น อันที่จริงเราไม่สามารถจำกัดแผ่นระนาบรองรับได้ เพราะศิลปินมีอิสระในการนำเสนอผลงานของตนผ่านกระบวนการทางศิลปะบนระนาบรองรับใด ๆ ก็ได้ แต่แผ่นระนาบรองรับที่ทำจากผ้าใบขึงตึงที่เราเรียกกันว่า แคนวาส (Canvas) กลับเป็นที่นิยมมากที่สุด ในอดีตเมื่อศิลปินออกไปวาดภาพยังสถานที่ต่าง ๆ จะนำผ้าใบม้วนรวมกันไป แล้วมีโครงไม้สี่เหลี่ยมที่เรียกกันว่าสะดึง ติดไปเพียงอันเดียว เมื่อไปถึงสถานที่ ๆ กำหนดแล้ว ศิลปิน จะนำผ้าใบมาขึงเข้ากับโครงไม้แล้ววาดภาพ เมื่อวาดเสร็จและผลงานแห้งดีแล้ว ศิลปินก็สามารถเลาะภาพวาดม้วนเก็บอย่างเดิมได้
5. จานผสมสี (Plate) ควรมีขนาดพอเหมาะกับขนาดผลงานที่วาด เช่นหากวาดภาพใหญ่ พื้นที่ของจานผสมสีก็ควรจะใหญ่ เพื่อให้มีที่สำหรับผสมสีอย่างเพียงพอ
6. ขาหยั่ง ขาหยั่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การวาดภาพสะดวกสบายขึ้น หากไม่ใช้ขาหยั่ง ผู้วาดภาพอาจใช้วัสดุอื่นรองรับแคนวาสแทนก็ได้
7. อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ผ้าเช็ดสี กระดาษทิชชู ผงซักฟอกหรือแชมพู (สำหรับล้างพู่กันเมื่อเลิกใช้งาน)

ขั้นตอนการวาดภาพสีน้ำมัน
1. ร่างภาพลงบนแคนวาสด้วยดินสอดำ ดินสอสี หรือแท่งถ่านเกรยอง (ถ้าร่างภาพด้วยแท่งถ่านเกรยอง ควรจะพ่นเคลือบเส้นร่างด้วย FIXATIVE หรือ CLEAR SPRAY ก่อนลงสีรูป
2. ตกแต่งภาพร่างให้เหมาะสม
3. ผสม สีน้ำมัน ด้วยลินสีด หรือ น้ำมันสน หรือลิควิน ให้มีความหนืดพอเหมาะ
4. ระบายสี ส่วนรวมเป็นบรรยากาศของภาพทั้งหมดด้วยพู่กันขนาดใหญ่
5. เพิ่มรายละเอียดของสีและแสงเงาในภาพให้ใกล้เคียงกับแบบ
6. ตกแต่ง รายละเอียดของภาพโดยใช้พู่กันขนาดเล็ก
7. เมื่อสีแห้งสนิทแล้ว เคลือบด้วยวานิช
………………………………………………………………………………………………….

เทคนิคการเขียนภาพสีชอล์กฝุ่น
โดย นายดินหิน รักพงษ์อโศก

ประวัติโดยย่อ

สีชอล์กฝุ่นมีประวัติยาวนานมากว่า 500 ปีแล้ว แต่เดิมจะเป็นผงชอล์กต่อมาอีก 300 กว่าปีให้หลังมานี้จึงมีการผสมกาวที่ทำจากยางไม้ให้จับเป็นแท่ง ในยุคแรกๆ จะนิยมเขียนเพียง 3 สีคือ สีดำ สีแดง และ สีขาว ต่อมาในยุคอิมเพรสชันนิสม์ หรือ 100 กว่าปีมานี้ มีศิลปินที่ใช้ชอล์กฝุ่นหลายคน เช่น โมเนท์ , ปิสซาโร, มาเนท์, แมรี่ คาสเซ็ท และมีศิลปินที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มนี้ คือ เอ็ดการ์ เดอกาส์ ซึ่งสร้างผลงานสีชอล์กฝุ่นไว้เป็นจำนวนมาก มีการใช้สีอย่างเชี่ยวชาญ มีความช่ำชองในการปาดสี และฉลาดในการเลือกมุมมองในการจัดภาพให้มีแสงในภาพที่ประสานกันอย่างงดงามในแบบของอิมเพรสชันนิสม์อย่างแท้จริง และศิลปินในกลุ่มอิมเพรสชันนิสม์ หลายคนเป็นผู้ให้อิทธิพลกับศิลปินไทยในรุ่นแรกๆ ที่เป็นลูกศิษย์ท่านศาตราจารย์ศิลป พีระศรีเป็นอย่างมาก
แนะนำการใช้สีชอล์กฝุ่นเบื้องต้น

สีชอล์กฝุ่น
นักวาดภาพมือใหม่หลายคนเลือกที่จะใช้สีชอล์กฝุ่นในการทำงาน เพราะสามารถถ่ายทอดได้อย่างตรงไปตรงมาอย่างมีพลังง่ายๆ สำหรับผู้เริ่มต้นเขียนภาพ เพียงแต่รู้เทคนิคในการเขียนก็จะทำให้คุณประหลาดใจว่ามันง่ายมากที่จะเขียนภาพทุกชนิดให้น่าสนใจได้
สีชอล์กฝุ่นเหมาะสำหรับการเขียนภาพทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาพหุ่นนิ่ง ภาพทิวทัศน์ หรือแม้แต่ภาพคนเหมือน ข้อดีอีกอย่างคือ เราไม่ต้องใช้จานสี น้ำ หรือเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้ยุ่งยาก เพียงมีกระดานรองเขียน กระดาษ สีและนิ้ว เท่านั้น
การทับซ้อนของสี
สีชอล์กฝุ่นเป็นสีที่แห้ง และเป็นสีทึบแสงไม่ได้ผสมกันแบบสีน้ำหรือสีน้ำมัน แต่เราสามารถผสมสีชอล์กฝุ่นได้โดยการระบายทับซ้อนกันบนกระดาษได้หลายชั้นโดยไม่ต้องรอให้สีแห้ง นี่คือลักษณะเฉพาะของสีชอล์กฝุ่น ข้อดีอีกอย่างคือคุณจะทำงานได้เร็วมาก เพราะคุณสามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความคิด ได้ฉับพลันอย่างเป็นธรรมชาติของตัวคุณเอง และมันสะดวกมากที่คุณจะนำมันติดตัวไปได้ทุกที่
ชนิดของสีชอล์กฝุ่น
สีชอล์กฝุ่นมี 2 แบบ คือแบบแข็ง และแบบนุ่ม แบบแข็งมักจะราคาถูกกว่า และส่วนใหญ่จะเป็นแท่ง 4 เหลี่ยม ส่วนแบบนุ่มมักจะออกแบบมาเป็นแท่งกลม ในการเขียนจะใช้ทั้งสองแบบร่วมกัน โดยแบบแข็งใช้ในการร่างภาพ และขึ้นสีพื้นรูป ซึ่งจะใช้สีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม แล้วพ่นด้วย FIXATIVE ทับก่อนลงสีของตัววัตถุ ด้วยสีชอล์กแบบนุ่ม
สีชอล์กที่จะแนะนำคือยี่ห้อเรมบรานด์ ของบริษัททาเลนท์ เป็นผู้ผลิต โดยสีที่บรรจุในกล่องขนาด 30 สี แบบครึ่งแท่งจะราคาประมาณ 370 กว่าบาท ก็จะมีสีมากพอให้เราเลือกใช้เขียนภาพให้สวยงามแล้ว และเป็นสีชอล์กฝุ่นแบบนุ่มซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุด
กระดาษ
ผิวหน้ากระดาษที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ในการเขียนสีชอล์กฝุ่นโดยเฉพาะมีความสำคัญมาก เพื่อให้ผงสีจับลงในร่องกระดาษ ในต่างประเทศมีกระดาษให้เลือกใช้หลายแบบ กระดาษที่มีคุณภาพสูงจะผลิตจากคัตตอล 100 % ซึ่งสามารถเก็บภาพได้นานเป็น 100 ปี โดยกระดาษจะไม่เปลี่ยนสีเลย แต่จะมีราคาแพงเกินไป ในเมืองไทยที่เห็นมี 2 ยี่ห้อที่สั่งมาขายคือ แคนสัน กับฟาเปียโน และจำเป็นจะต้องใช้กระดาษสีพื้นกลางๆ ในการเขียน ด้วยเทคนิคการเขียนสีชอล์กฝุ่นเราจะขึ้นรูปด้วยสีเข้มแล้วคัดสีอ่อนขึ้นมา ถ้าพื้นกระดาษสีขาวจะทำให้ยากต่อการเขียนด้วยเทคนิคการทับสีเป็นชั้นๆ
กระดาษฟาเปียโนจะเหมาะกับการเขียนแบบทับซ้อนสีที่สุด โดยให้เห็นร่องรอยกระดาษหรือสีชั้นล่างบางส่วนและกระดาษก็มีความหนาพอที่จะไม่ย่นเวลาพ่น Fixative ทับบนเส้นร่างและสีที่รองพื้นชั้นแรก สีกระดาษที่เราเลือกก็จะมีส่วนสำคัญในการคุมโทนสีที่จะเราจะเลือกใช้ในการเขียนภาพด้วย

การจัดมุมมองภาพ
การจัดมุมมองของภาพหรือการจัดองค์ประกอบของภาพให้เหมาะสมในกระดาษ ขึ้นอยู่กับหัวข้องานที่เราจะเขียนเช่น ถ้าเป็นหุ่นนิ่งแจกันดอกไม้ ก็อาจจะจัดไว้กลางหน้ากระดาษได้เลย แต่ถ้าเป็นภาพทิวทัศน์ทะเลจะเป็นอีกแบบ คือ เราจะต้องจัดให้ภาพมีระยะหน้า ระยะกลาง และระยะหลัง โดยอาจจะต้องใส่ภูเขา ใส่เมฆ มีต้นไม้ กิ่งไม้ หรือ โขดหิน เพื่อไม่ให้ภาพทิวทัศน์ทะเล มีเพียง เรือกับทะเลเท่านั้น เราอาจมองรอบๆ ตัวเราแล้วนำสิ่งของนั้นมาจัดใส่ในภาพเพื่อให้มีองค์ประกอบของภาพที่น่าสนใจขึ้นมาได้ หรือจะใช้กล้องดิจิตอลในการถ่ายภาพจากในธรรมชาติ โดยเลือกมุมมองสวยๆ แล้วนำมาเป็นต้นแบบในการเขียนโดยดูจากจอ Computer ก็ได้ โดยเฉพาะการวาดภาพสัตว์ที่จะเคลื่อนไหวตลอด ยากต่อการวาดภาพสดๆ จากตัวจริง ปัจจุบันกล้องดิจิตอลจึงมีความจำเป็นที่จะช่วยให้เราทำงานได้สะดวกขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายมาก

การร่างภาพ
เส้นร่างภาพภายนอกรูปจะมีส่วนสำคัญในการเขียนภาพด้วยสีชอล์กฝุ่นเป็นอย่างยิ่ง การร่างภาพที่ให้เส้นนอกรูปเข้มและชัดเจนจะมีผลต่อการลงสีในขั้นต่อๆ ไปมาก ยิ่งถ้าเขียนเส้นร่างภาพได้สวยงาม ก็จะช่วยทำให้งานลงสีง่ายขึ้นมาก บางครั้งเพียงลงสีนิดหน่อยแล้วทิ้งเส้นให้ทำงานอย่างอิสระก็อาจจะดูดีเพียงพอแล้วโดยไม่ต้องลงสีให้เต็มพื้นที่
การขึ้นรูปหรือการร่างภาพด้วยสีเข้มแล้วทับซ้อนด้วยสีอ่อนเป็นการทับซ้อนด้วยชั้นต่างๆ ของสี 2 – 5 ชั้น เป็นวิธีการเขียนแบบคลาสสิคที่นิยมเขียนกันในยุคอิมเพรสชันนิสม์เป็นอย่างยิ่ง เป็นวิธีที่ทำให้ได้สีที่เกิดการผสานกลมกลืนกันทางการมองเห็น และการลงสีด้วยน้ำหนักมือที่หนัก – เบาต่างกันแต่ละที่ก็จะให้ความรู้สึกของความลึกของชั้นสี และความใสของเนื้อสีแต่ละจุดที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดความงามทางทัศนศิลป์

การวาดภาพด้วยสีชอล์กฝุ่น

แอปเปิ้ล
อาจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวไว้ว่า “วาดเส้น คือ หัวใจของงานศิลปะ” วาดเส้นเป็นเรื่องความงามของเส้นและน้ำหนัก เส้นที่มีชีวิตจะมีน้ำหนักอ่อนแก่ไม่แข็งทื่อ เมื่อเราร่างภาพได้เส้นและรูปทรงตามที่ต้องการแล้ว จะรองพื้นด้วยสีแก่ของลูกแอปเปิ้ลแดงก็คือสีน้ำตาลเข้ม แล้วจึงลงสีแดงของแอปเปิ้ล โดยการปาดสีด้วยน้ำหนักมือที่แตกต่างกัน ตรงส่วนที่เราต้องการสีแดงสดก็จะกดน้ำหนักมือหนักหน่อย ตรงส่วนไหนที่เราต้องการให้เป็นสีแดงเข้ม เช่นส่วนที่อยู่ในร่มเงาก็จะปาดสีเบามือ ให้ร่องรอยบนกระดาษสีรองพื้นทำงานด้วย

มะเขือเทศ
หุ่นนิ่งควรจะเขียนจากแบบจริงจะมีแรงบันดาลใจในการแสดงออกของผู้วาดได้ดีกว่าการเขียนจากภาพถ่าย การเลือกมุมมองที่จะเขียนก็สำคัญควรเลือกมุมที่เห็นเงาตกทอดของหุ่น และมีแสงเข้าด้านเดียวจะได้ภาพที่ดีมีน้ำหนักที่สวยงาม นักวาดภาพที่เชี่ยวชาญเวลาวาดภาพอะไรจะเขียนให้ได้ความรู้สึกของสิ่งที่จะเขียนนั้น เช่น เวลาเขียนมะเขือเทศก็จะต้องเขียนให้ได้ความรู้สึกแดงสดน่าทาน

ภาพคนเหมือน
ในการเขียนภาพทุกชนิดการเขียนภาพคนเหมือนจะยากที่สุด เนื่องจากต้องเขียนให้เหมือนแบบแล้วยังต้องถ่ายทอดบุคลิกลักษณะของผู้เป็นแบบออกมาให้ได้ด้วย ถ้าเขียนจากคนจริง แบบจะต้องนิ่งที่สุดเหมือนเป็นหุ่นนิ่ง เพื่อผู้วาดจะกะระยะสัดส่วนได้ง่าย จะทำให้เขียนได้เหมือน นักวาดภาพแต่ละคนก็มักจะมีความถนัดในมุมต่างกัน บางคนถนัดเขียนเฉพาะด้านข้างจะเขียนได้ดี และมุมด้านข้างจะแสดงบุคลิกของผู้เป็นแบบได้มากที่สุด และเขียนได้ไว้ที่สุดกว่ามุมอื่นๆ แต่มุมที่สวยงามที่สุดคือมุมด้านเฉียง 45 องศา
การขึ้นรูปในการเขียนภาพคนเหมือนก็เหมือนกับการเขียนภาพหุ่นนิ่ง และการเขียนภาพสัตว์ โดยร่างภาพสีน้ำตาล แล้วเน้นเส้นร่างด้วยเกรยองแท่งเหลี่ยมดำ เพื่อให้เห็นรูปทรงที่แน่นอนซึ่งจะทำให้การลงสีได้ง่าย ภาพต้นแบบจากภาพถ่ายที่มีแสงเงาชัดเจนจะทำให้ลงสีได้ง่ายกว่าภาพถ่ายแบนๆ เพราะเพียงแต่ลงสีพื้นรวมๆ แล้วคัดแสงขึ้นมาก็สวยแล้ว ภาพคนเหมือนที่จะถ่ายทอดอารมณ์ของศิลปินได้ดีที่สุดคือการเขียนจากคนจริง แต่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและทักษะสูงมาก และต้องเขียนไวด้วยเพราะไม่งั้นนางแบบจะเบื่อเพราะเมื่อย โดยปกติการเขียนจากแบบคนจริงจะไม่นิยมเขียนมุมด้านหน้าตรง เพราะจะดูคล้ายเขียนจากภาพถ่ายติดบัตรอย่างเป็นทางการ หรือภาพถ่ายติดหน้างานศพ และนางแบบก็จะไม่มีจุดมองที่ผ่อนคลายด้วย การเขียนภาพคนเหมือนจากภาพถ่ายจะทำได้ง่ายโดยใช้เครื่องฉายทึบแสงช่วยในการร่างภาพโดยไม่ต้องตีสเกลให้เสียเวลา จะถ่ายภาพนางแบบด้วยกล้อง Digital ในมุมที่ต้องการวาดหลายๆ รูปเมื่อเลือกรูปที่เราต้องการแล้วจึง Print ออกมา แล้วใส่ภาพในเครื่องฉายทึบแสง โดยใช้กระดาษที่จะเขียนมารองรับภาพ แล้วลงเส้นด้วยเกรยองแท่งเหลี่ยมดำได้เลย สะดวกสบายมาก

แจกันใส
ส่วนสำคัญในการเขียนแจกันใสคือการใช้สีที่ให้ความกลมกลืนกับฉากพื้นหลัง แต่จะลงสีให้มีมีความเข้มกว่าฉากพื้นหลังเล็กน้อย และให้ใช้สีขาวในจุดที่ได้รับแสงจัด ๆ หรือ เรียกว่าจุดไฮไลต์ ซึ่งตามปกติเราจะไม่ใช้สีขาวในการเขียนหุ่นนิ่ง เช่นผัก และผลไม้ แม้แต่ปลาแต่จะใช้สีเนื้ออ่อนๆ หรือสีเหลืองอ่อนๆ เป็นจุดไฮไลต์แทน เพราะวัตถุที่เป็นแก้วใสต้องการแสงที่สว่างจัดๆ เข้าไปกระทบแจกันด้วย และมีสีที่มากจากวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ๆ แจกัน เช่น ผ้าปูพื้นตลอดจนสีของผัก และผลไม้ที่วางใกล้ๆ กับแจกัน สะท้อนเข้าไปในแจกัน เพื่อให้สีเกิดการประสานกลมกลืนกันทั้งภาพ

ไก่
สัตว์ในธรรมชาติจะไม่ค่อยอยู่นิ่งๆ ให้เราเขียน แม้จะอยู่นิ่งบ้างก็มักจะอยู่ในระยะไกล ทำให้เราสังเกตเห็นรายละเอียดได้ยาก จึงนิยมเขียนรูปสัตว์จากภาพถ่าย โดยถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลหลายๆ มุม หรือซูมเฉพาะ ส่วนที่ต้องการจะเขียน แล้วนำภาพมาเก็บไว้ใน Computer เป็นต้นแบบในการเขียน

ต้นไม้
เป็นการเขียนภาพนอกสถานที่ ซึ่งต้องโดยเลือกมุมที่ร่มรื่น สงบจากสิ่งรบกวนพอสมควรจึงจะทำงานได้อย่างต่อเนื่อง การเลือกต้นไม้ที่จะเขียนสำคัญที่สุดที่จะทำให้ภาพต้นไม้มีความสวยงานน่าสนใจ เพราะถ้าต้นไม้ไม่มีลำต้น กิ่งก้านที่สวยงามแล้ว ก็จะทำให้แรงบันดาลใจในการเขียนแทบจะไม่มีเลย ต้นไม้แต่ละชนิดแต่ละต้นจะแตกต่างกันออกไป ต้นไม้ประกอบด้วยลำต้น แขนงลำต้น (แยกออกมาจากลำต้น) กิ่งและใบ ปลายลำต้นจะเรียวเล็กกว่าโคนต้นเสมอไม่ว่าแขนงหรือกิ่ง เปลือกไม้แบบต่างๆ ก็จะเป็นตัวเสริมให้ภาพน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ส่วนที่สวยที่สุดของต้นไม้คือลำต้น ยิ่งลำต้นที่มีกิ่งก้านใหญ่ๆ เป็นต้นไม้เก่าแก่โบราญยิ่งสวย สำหรับใบนั้นเป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้น เพราะใบไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดใกล้เคียงกัน เราจึงเขียนเป็นภาพรวมๆ แต่เน้นที่ความสวยงามของลำต้น กิ่งก้านต่างๆ โดยเฉพาะถ้ามีแสงมากระทบลำต้น ก็จะลงสีได้ง่ายและสวยเป็นพิเศษ วีธีเลือกสีกระดาษก็มีส่วนสำคัญ ควรเลือกสีกระดาษออกโทนเขียวแก่ก็จะทำใบไม้ได้ง่าย โดยการปาดสีชอล์กฝุ่นแบบปล่อยให้เกิดร่องรอยบนพื้นกระดาษสีเดิม

วัว
การร่างภาพวัวให้มองภาพเป็นสามเหลี่ยมแบบเรขาคณิตจะทำให้เราจับลักษณะรวมๆ ของใบหน้าวัวได้ง่ายขึ้น โดยปกติเขาวัวทั้ง 2 ข้างจะยาวไม่เท่ากัน มีข้อที่น่าสังเกตอยู่คือ ลักษณะของวัวตัวผู้กับวัดตัวเมียต่างกันคือวัวตัวผู้จะมีคอกว้าง และแข้งแรงกว่าคอของวัวตัวเมียภาพสัตว์นั้น โดยปกติส่วนหัวของสัตว์ทุกชนิดจะสำคัญที่สุด วาดยากที่สุด

ปลาทู
จะเป็นภาพหุ่นนิ่งซึ่งหมายถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิตแล้ว การเขียนจากแบบจริงจะสังเกตรายละเอียดได้ง่าย เริ่มโดยการขึ้นโครงสร้างโดยรวมก่อนจึงจะเน้นเส้นรอบรูปด้วยเกรยองแท่งเหลี่ยมดำ เช่นเดียวกับการขึ้นรูปอื่นๆ การขึ้นสีพื้นด้วยสีเข้มแล้วคัดสีอ่อนขึ้นมา จะเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วและสวยงาม โดยหลีกเลียงการใช้สีขาวจัด แต่ส่วนที่เป็นสีอ่อนที่สุดของภาพจะใช้เป็นสีเหลืองอ่อนๆ และอย่าลืมสีจากพื้นฉากหลังที่สะท้อนเข้าไปในผิวเนื้อของปลาทูด้วย

สุนัข
สุนัขมีมากมายหลายสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็มีรูปร่างลักษณะหน้าตาเป็นของมันเองโดยเฉพาะ ส่วนที่สำคัญคือการเขียนตาและขนของสุนัข ตาของสุนัขจะมีแววตาและรูม่านตาเหมือนตาคนทุกประการ ส่วนที่เป็นขนขาว ควรหลีกเลียงการใช้สีขาวจัด เพราะจะทำให้ภาพดูแห้งๆ ไม่ได้ลักษณะของขนที่นุ่มนวล และเราสามารถใส่สีที่เป็นสีสะท้อนกลับจากฉากพื้นหลังในขนได้ จะทำให้ขนสุนัขดูนุ่มนวลและเกิดสีประสานกลมกลืนกันกับฉากพื้นหลัง

บทสรุป ถ้าเราอยากจะเริ่มต้นเขียนรูป อย่ารอให้มีเวลาแต่จะต้องจัดสรรเวลาขึ้นมา และเวลาเขียนภาพก็อย่าคำนึงถึงกฎเกณฑ์มากนัก เพราะจะทำให้เกร็ง เราจะต้องเขียนภาพด้วยอารมณ์ที่สบายๆ แบบเล่นๆ เพราะการเขียนภาพแต่ละภาพเราย่อมไม่ทราบว่าตอนจบจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ก่อนที่จะเริ่มลงมือวาดภาพทุกครั้ง เราจะต้องสร้างจินตนาการขึ้นในใจของเราว่าเราอยากให้ภาพออกมาเป็นอย่างไร เช่นเวลาก่อนที่เราจะเขียนปลาทู เราจะต้องจินตนาการว่าเราจะเขียนให้รู้สึกว่าปลาทูนั้นตายแล้ว เป็นปลาเค็มจะต้องเขียนให้รู้สึกว่าปลาทูในภาพนั้นเค็มจริงๆ มีกลิ่นของปลาเค็มออกมาจากภาพได้เลย เพราะการวาดภาพไม่ใช่เป็นการลอกแบบจากธรรมชาติเพียงรูปแบบที่เห็นเท่านั้น แต่จะต้องมีอารมณ์ความรู้สึกของภาพยิ่งกว่าภาพถ่ายธรรมดา ซึ่งผู้วาดภาพจะสามารถทำเช่นนี้ได้จนต้องผ่านการฝึกฝีมืออย่างหนัก โดยสังเกตจากธรรมชาติ และฝึกมือให้ถ่ายทอดออกมาให้ได้อย่างที่ใจต้องการ จึงจะได้คุณค่าของความเป็น Work of ART หรืองานที่มีผลสะเทือนต่อจิตใจของผู้ดูอย่างไม่มีวันลืม .
FAST SKETCHING TECHNIQUES IN
WATERCOLOUR
by นายดินหิน รักพงษ์อโศก

ข้อแนะนำเบื้องต้น
การวาดภาพอย่างหวัดๆ ด้วยสีน้ำ หรือเป็นภาพร่างแบบไม่ละเอียด เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนภาพสีน้ำที่ไม่ต้องมีพื้นฐานการ Drawing ที่ชำนาญหรือเชี่ยวชาญนัก อาจเริ่มต้นด้วยการถ่ายรูปทิวทัศน์ต่างๆ เช่นต้นไม้ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เรือและทะเล โดยใช้กล้องดิจิตอล แล้วเปิดดูภาพจากจอคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นต้นแบบในการเขียนภาพ การถ่ายภาพทำให้เราสามารถเลือกมุมมองได้มากกว่าการออกไปเขียนจากสถานที่จริงๆ เพราะบางตำแหน่งเราไม่สามารถไปนั่งเขียนได้ เช่น เรือที่อยู่ในทะเลไกลๆ และเราต้องการภาพจากมุมสูงเพราะต้องการเห็นรายละเอียดภายในเรือ เป็นต้น ที่สำคัญในการร่างภาพโดยเขียนจากภาพถ่ายนั้น ผู้เริ่มต้นเขียนภาพสามารถทำได้โดยการ Print ภาพจากคอมพิวเตอร์ แล้วนำมาถ่ายเอกสารขยายให้ใหญ่เท่ากระดาษที่เราต้องการจะวาด แล้วจึง Copy ภาพด้วยโต๊ะเขียนแบบที่มีไฟส่องจากด้านล่าง ด้วยการร่างภาพด้วยดินสอไม้ละลายน้ำสีอ่อนๆ ก่อน แล้วจึงมาใส่เส้นด้วยเทคนิคต่างๆ ในการ Sketch ภาพก่อนที่จะลงสีน้ำต่อไป
ขั้นตอนการร่างภาพดังกล่าวนี้ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนภาพเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อเราเห็นภาพที่เราร่าง สวยงาม ได้สัดส่วนแล้ว ก็เหมือนทำภาพให้สวยไปได้ 50% ทีเดียว ทำให้เรามีกำลังใจในการลงสีตามมาอย่างมาก เมื่อเราทำบ่อยๆ จนเกิดทักษะคล่องแคล่ว เชี่ยวชาญแล้ว การออกไปเขียนยังสถานที่จริงจากธรรมชาติ ก็จะง่ายเป็นอย่างมาก

ลักษณะเฉพาะตัวของสีน้ำ
ในบรรดาสีที่ใช้ในการวาดภาพทั้งหมด สีน้ำมีความสะดวกในการใช้มากที่สุด เนื่องจากสามารถประยุกต์ได้ในหลายๆ สถานการณ์และหลายสไตล์ วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้พื้นฐานเบื้องต้นก็มีเพียงจานผสมสีเ พู่กันกลมและแบน 3-4 ด้าม กระดาษ กระป๋องใส่น้ำและผ้าเช็ดสีเท่านั้น เมื่อคุณมองเห็นภาพเขียนที่เขียนด้วยสื่อสีน้ำ คุณจะทราบทันทีว่าเป็นการเขียนด้วยเทคนิคสีน้ำ เพราะมีคราบของสี มีความชุ่มเปียกแม้สีแห้งแล้วก็ยังรู้สึกเหมือนสียังเปียกอยู่ และได้เห็นความรู้สึกของผู้วาดโดยผ่านทางการแต้มสีต่างๆ บนกระดาษ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของสีน้ำจะมีความโปร่งใสแม้จะระบายด้วยเทคนิคหรือกรรมวิธีต่างๆ ก็ตาม ซึ่งหากใช้สีทึบหรือเนื้อสีมาก จะทำให้สีไม่โปร่งแสง ขาดความชุ่ม ซึมไหล ภาพจะดูแข็งกระด้าง และจะนิยมเขียนบนกระดาษขาวเท่านั้น เพราะความขาวของกระดาษเป็นตัวเสริมความโปร่งใสของสีน้ำให้ดูสะอาดตายิ่งขึ้น

การวาดและการระบายสี
โดยพื้นฐานการระบายสีน้ำจะอาศัยหลัก”ความสะอาด” แม้จะร่างภาพด้วยเทคนิคอะไรก็ตาม ก็ต้องรักษาความสะอาดของสี ให้โปร่งใสและทับซ้อนกันอย่างรู้จังหวะเวลาว่าจะต้องทิ้งให้หมาดๆ หรือแห้งขนาดไหน ขึ้นอยู่กับความชำนาญและทักษะในการวาดและระบายสี ต้องฝึกฝนบ่อยๆ ให้เชี่ยวชาญ จนถึงขั้นสูงสุดจะเป็นการเรียนรู้และเล่นในการระบายสี เพราะการตั้งใจจะวาดให้เหมือนโดยใช้สื่อสีน้ำนั้น ภาพที่ได้ออกมาจะดูแข็งทันที ภาพที่วาดง่ายๆ โดยที่ไม่ตั้งใจอาจจะเป็นภาพที่ดูดีสวยงามได้ โดยอาจใช้เพียงไม่กี่สีก็ได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เริ่มต้นจะต้องทราบว่าการ Sketch ด้วยสื่อสีน้ำนั้น ไม่ใช่จะต้องเขียนหรือระบายสีให้เหมือนแบบที่สุด แต่เป็นการเลียนแบบจากธรรมชาติหรือภาพถ่ายที่เห็น แล้วตัดทอนออกมาเป็นรูปทรงง่ายๆ โดยการสร้างโครงสีขึ้นมาใหม่ แทนค่าสีที่เห็นจากต้นแบบนั้น เมื่อเริ่มต้นตามคำแนะนำนี้จะทำให้ผู้เริ่มต้นเขียนภาพสามารถพัฒนาฝีมือในการวาดภาพระบายสีน้ำได้ดี ในเวลาอันสั้น

การเริ่มต้น
CD-ROM ชุดนี้จะแนะนำถึงเทคนิคที่ใช้ในการ Sketch ภาพที่หลากหลาย ให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้วาดเอง โดยสามารถปฏิบัติตามได้ง่าย รวมทั้งข้อแนะนำบางประการที่จะช่วยให้ท่านประสบความสำเร็จง่ายขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ท่านจะต้องมีความสนุกที่จะวาดภาพ จงวาดภาพในสิ่งที่ท่านอยากจะวาด อย่าวาดเพราะจำเป็นต้องวาด จึงจะเกิดแรงขับเคลื่อนที่ออกมาจากภายในตัวท่านเอง ผลักดันให้ทำอย่างต่อเนื่อง ลองศึกษาเทคนิคต่างๆ ที่แนะนำ แล้วนำมาทดลองใช้หลายๆ วิธี จึงจะพบวิธีที่ท่านคิดว่าเหมาะกับตัวเอง โดยอาศัยหลักการ “ง่ายและงาม” สิ่งสำคัญคือคุณภาพของสีและกระดาษที่ใช้ ซึ่งมีความสำคัญมาก การใช้สีที่มีราคาแพงมักจะเป็นสีโปร่งใสกว่าสีราคาถูก และกระดาษที่มีคุณภาพดีมักจะมีเนื้อกระดาษที่หยาบ มีความหนา ซึ่งมีส่วนผสมของลินินและฝ้าย ทำด้วยมือทีละแผ่น จึงมีราคาแพงกว่ากระดาษ 100 ปอนด์ธรรมดาหลายเท่ามาก แต่จะมีคุณภาพในการซึมซับสีที่ดีกว่า สีที่เขียนออกมาจะสด สวยกว่า ข้อสังเกตคือมักจะมีริมหรือขอบกระดาษไม่เรียบ ขอแนะนำให้ท่านลองใช้ 2-3 ยี่ห้อ เมื่อพบว่าท่านชอบกระดาษแบบไหนก็ควรใช้กระดาษแบบนั้นๆ ตลอด เพราะเมื่อเปลี่ยนกระดาษใหม่ก็ต้องใช้เวลาในการทดลองเขียนใหม่จนกว่าจะอยู่มืออีก

ความรู้พื้นฐานการระบายสีน้ำ
การเขียนภาพสีน้ำ พื้นฐานง่ายๆ คือใช้พู่กันจุ่มน้ำ ผสมสี แล้วระบายลงบนกระดาษพื้นขาว ให้ได้สีในน้ำหนักต่างๆ กัน จนเป็นรูปร่าง มีแสง-เงา บรรยากาศ โดยทิ้งกระดาษขาวเป็นน้ำหนักอ่อนที่สุด โดยเริ่มต้นเขียนภาพตามที่ตาเห็นก่อน เมื่อเกิดความเชี่ยวชาญแล้วจึงเพิ่มสิ่งที่ใจเรารู้สึก ออกมาใส่ในงานด้วย มิใช่เพียงแค่ลอกเลียนแบบให้เหมือนดังที่ตาเห็นเท่านั้น
การปฏิบัติงานสีน้ำ บางท่านกล่าวว่า สีน้ำเป็นสีที่เขียนได้ยากที่สุด นั่นเป็นเฉพาะคนที่มีใจโลเล เพราะเมื่อลงสีไปแล้วจะแก้ไขไม่ได้ ผู้เขียนจึงต้องตัดสินใจแน่นอน ฉับพลัน กล้าได้ กล้าเสีย เล่นสีกับน้ำลงบนกระดาษให้สนุกเพลิดเพลิน และมีความสุข ไม่ตั้งใจมากจนเกินไปจนเกิดการเกร็ง ทำให้งานมีความรู้สึกแข็ง ไม่นุ่มนวล จะไม่ทับสีมากจนกระดาษช้ำ ทำให้เกิดสีสกปรก หรือสีเน่า ดูไม่สะอาดตา การเล่นสีทำให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เฉกเช่นเดียวกับการเล่นดนตรี อันนำมาซึ่งสำเนียงเสียงไพเราะ มีชีวิตชีวา สีน้ำมีเสน่ห์ตรงที่ดูชุ่มฉ่ำเสมือนหนึ่งยังเปียกอยู่ ทั้งที่แห้งแล้วทั้งรูป ยากนักที่สีอื่นๆ จะทำได้ การเขียนสีน้ำด้วยพู่กันลงบนกระดาษสามารถทำได้ทั้งป้าย ระบาย สลัด จุด ขีด ฯลฯ จึงเป็นการเล่นที่สนุก เพลิดเพลิน มีอิสระ อาจจะเริ่มต้นด้วยโครงสร้างของสีอันเป็นมวลหมู่ทั้งภาพ หรือที่รูปร่างอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน หรือจะทำไปพร้อมกันก็ได้ เพื่อถ่ายทอดการแสดงออกของอารมณ์ ความรู้สึกอันประทับใจ ออกมาในงานสีน้ำ
การสร้างงานสีน้ำให้มีคุณค่าทางศิลปะนั้น ต้องค้นคว้า ทดลอง หาทั้งประสบการณ์ ฝีมือและความคิดไปพร้อมกัน แม้เราจะไม่ได้จบการศึกษาจากในสถาบันศิลปะ ยิ่งทำให้เรามีอิสระในการสร้างสรรค์มากขึ้น เป็นตัวของตัวเองง่ายมากขึ้น ยิ่งรู้จักวิเคราะห์และเข้าใจถึงคุณค่าในงานศิลปะชิ้นสำคัญที่ได้พบเห็นทั้งในและต่างประเทศ ก็สามารถนำมาเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์งานสีน้ำได้
..............................................................................................
10 เทคนิค ในการ Sketch ภาพ ก่อนลงสีน้ำ
1. ดินสอถ่านชาร์โคล
เป็นวัสดุร่างภาพที่เหมาะสำหรับคนชอบแสดงเส้นร่างรอบรูปอย่างเข้มข้น เห็นชัดเจน โดยอาจเขียนในลักษณะแบบการร่างภาพให้เส้นต่อเนื่องกันโดยยกดินสอชาร์โคลให้น้อยที่สุด และจับดินสอแบบนอนขนานกับกระดาษ ก็จะได้เส้นที่มีลักษณะลื่นไหลมีน้ำหนักอ่อนแก่ เส้นใหญ่-เล็กได้อารมณ์ของเส้นดีมาก เมื่อภาพร่างเสร็จจนพอใจก็จะต้องพ่นเคลือบเส้นด้วย Fixative เพื่อให้เส้นซึ่งเป็นถ่าน ไม่หลุดออกมาในตอนลงสี
2. สี NEOCOLOUR
เป็นสีชอล์กน้ำมันที่ละลายน้ำได้ ซื้อได้ที่ร้านศรีสุทธา ใกล้ๆ 4 แยกคอกวัว หลังอนุสาวรีย์วีรชน 14 ตุลา เป็นการร่างภาพแบบ Sketch ด้วยสี ที่ทำให้ภาพสวย ดูดี และง่ายที่สุด เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนภาพสีน้ำมาก สีจะมีลักษณะเป็นแท่งกลมคล้ายสีเทียนที่เด็กๆ ใช้เขียนรูป แต่จะมีราคาแพงกว่ากันมาก ขนาด 40 สี ก็พันกว่าบาท ถ้าเขียนบนกระดาษผิวหยาบก็จะทำให้ได้พื้นผิวที่น่าสนใจกว่าเขียนบนกระดาษที่ผิวเรียบ การลงเส้น Sketch ควรลงหลายๆ สี ทั้งสีเข้มและสีอ่อน แล้วสามารถลงสีน้ำทับเส้นได้เลย ซึ่งจะได้เส้นรอบรูปภาพที่ไม่แข็ง เพราะเมื่อถูกน้ำก็จะละลายอย่างสวยงาม นุ่มนวล บางครั้งหลังจากลงเส้นด้วยสี NEOCOLOUR แล้ว เราสามารถจะปาดสีลงในภาพ โดยใช้ด้านข้างของแท่งสี NEOCOLOUR โดยไม่ต้องลงสีน้ำ เพียงแต่ใช้ฟ็อกกี้ฉีดน้ำเปล่าเล็กน้อย ในระยะห่างๆ เส้น+สี NEOCOLOUR ก็จะละลายน้ำออกมาอย่างนุ่นวล ดูเป็นงาน Sketch ที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว
3. สีไม้ละลายน้ำ
เหมาะสำหรับคนที่รักความสะอาด นุ่มนวล โดยการร่างภาพได้หลายสีและอาจจะระบายสีบางส่วนของภาพก็ได้ เมื่อร่างภาพเสร็จก็เพียงแต่ใส่สีน้ำที่เจือน้ำเยอะๆ ให้สีเจือจาง ก็ดูสวย หวาน เหมาะกับการเขียนภาพดอกไม้หรือวิวที่ต้องการความนุ่มนวล ไม่ใช้สีเข้มข้นรุนแรง สีไม้ละลายน้ำจะหาซื้อได้ง่ายตามห้างสรรพสินค้า ในราคาไม่แพง พกพาง่ายสะดวก แถมยังมีสีเยอะให้เลือกใช้ ทำให้ภาพเขียนมีหลายโทนสีประสานกลมกลืน ไม่น่าเบื่อ
4. แท่งถ่าน Pastel
หรือที่นิยมเรียกเกรยอง จะเป็นสีชอล์กฝุ่นแบบแข็ง ลักษณะแท่งสีดำสี่เหลี่ยมผืนผ้า เหมาะกับผู้ชอบเส้นที่คมเป็นเหลี่ยมเป็นสัน เพราะเราจะใช้สันเหลี่ยมในการร่างภาพ โดยเน้นที่การจับแท่งถ่านแบบนอน การเขียนเกรยองจะใช้วิธีเขียนโดยใช้สันเหลี่ยมเท่านั้นไม่ใช้ปลายของแท่งถ่าน เพราะเส้นจะทู่ๆ ไม่คมสวยเหมือนกับการใช้สันเหลี่ยม ข้อควรระวังคือจะเลอะได้ง่าย เพราะผงถ่านที่ติดมือ เมื่อร่างภาพเสร็จก็จะต้องพ่นทับด้วย Fixative เพื่อให้เส้นติดกับกระดาษ และควรไปล้างมือก่อนลงสีน้ำ ก็จะได้ภาพ Scetch ที่สวยไปอีกแบบ ได้แสดงความคมของเส้นแบบการการเขียนเกรยองภาพขาวดำ แต่นำมาดัดแปลงโดยการใส่สีน้ำเข้าไป ให้เกิดสีสันสนุกสนานงดงามยิ่งขึ้น
5. พู่กันจุ่มสี
เป็นเทคนิคที่ศิลปินรุ่นเก่านิยมเขียนกัน โดยการจุ่มสีน้ำโทนเข้มๆ เช่น น้ำเงิน-ดำ-น้ำตาล โดยการจับพู่กันแบบนอนขนานกับพื้นกระดาษ จะได้ส้นที่สวยงามกว่าแบบตั้ง แต่จะต้องใช้พู่กันกลมเบอร์เล็ก เบอร์ 4-5 และจุ่มสีที่หมาดๆ เกือบแห้ง จึงจะได้เส้นสากๆ ที่สวยเมื่อร่างภาพเสร็จ เวลาลงสีน้ำ เส้นบางส่วนจะละลายน้ำออกมาผสมกับสีที่ชุ่มน้ำบ้าง ก็จะเป็นการดี เพราะจะได้เส้นที่ไม่แข็งกระด้างเลยทีเดียว บางคนอาจชอบร่างภาพด้วยสีอ่อนก็จะไม่เห็นเส้นร่างในเวลาลงสีเสร็จแล้ว การใช้สีเข้มในการร่างภาพในบางครั้งอาจจุ่มสีสัก 2 สีก่อนลงในกระดาษก็ได้ โดยให้สีทั้งสองผสมกันเองในขณะร่างภาพ
6. ปากกาลูกลื่น
ปากกาที่เหมาะคือปากกาหมึกเจล หัวเบอร์ขนาด 0.6 ซึ่งส่วนใหญ่หมึกเจลจะกันน้ำอยู่แล้ว เหมาะสำหรับคนที่ชอบเส้นเล็กและละเอียด ถ้าจะเขียนให้ไว ให้จับปากกาแบบนอนขนานกับพื้นจะเขียนได้คล่อง เส้นลื่นไหลอย่างอิสระ แต่ถ้าชอบความละเอียดก็จับแบบเขียนหนังสือธรรมดา เนื่องจากเส้นเล็กจึงต้องใช้เวลาในการร่างภาพนานกว่าเทคนิคอื่น แต่ก็สะดวกในการพกพา บางครั้งอาจไปร่างภาพกับสถานที่จริงหลายๆ ภาพแล้วนำกลับมาลงสีน้ำที่บ้านก็ได้
7. ปากกาหมึกซึม
เป็นวัสดุที่ศิลปินนิยมใช้กันมากโดยเฉพาะการ Sketch อย่างเร็ว เป็นการบันทึกความทรงจำด้วยภาพ เพื่อนำไปขยายเป็นภาพเขียนสีน้ำมันหรือสีอะคริลิก ในแบบกึ่งนามธรรม โดยเมื่อร่างภาพเสร็จก็จะลงน้ำหนักด้วยหมึกดำละลายน้ำจางๆ ก็จะได้ภาพที่สวยงามแล้ว แต่ในการ Sketch เพื่อลงสีน้ำ ควรใช้ปากกาหมึกซึมที่หัวใหญ่ๆ เช่น Size BB เพื่อจะได้เส้นเล็ก-ใหญ่ตามน้ำหนักมือที่เน้นและปล่อยในขณะร่างภาพ เมื่อ Sketch ด้วยปากกาหมึกซึมเสร็จแล้วรอให้หมึกแห้งซักพักจึงลงสีน้ำโดยหลีกเลี่ยงที่จะระบายสีน้ำทับเส้นปากกา เพราะหมึกดำจะละลายน้ำออกมาผสมกับสีน้ำ อาจให้มีการละลายของเส้นสีน้ำกับได้บ้างในบางจุดพองาม แต่ไม่ใช่ทั้งภาพ และควรลงสีน้ำค่อนข้างอ่อน โดยผสมน้ำให้เจือจางมากๆ เพราะไม่เช่นนั้นหมึกที่ละลายออกมาจากเส้น Sketch จะออกมาผสมกับสีน้ำ ทำให้ดูไม้ค่อยสะอาดตานัก
8. ไม้จุ่มหมึก
เป็นเทคนิคที่สะดวกที่สุดเพราะไปหาเอาตามข้างถนนเช่น ไม้เสียบลูกชิ้นปิ้ง หรือหักกิ่งไม้เล็กๆ ตามต้นไม้ข้างถนน ก็นำมาเขียนได้ แต่ต้องใช้หมึกกันน้ำ เช่น หมึกดำตราอูฐ ฮักกิ้น หรือหมึกเติมปากการ็อตตริ้ง ทำให้ได้ภาพสีสดใส สะอาดตา เทคนิคนี้เหมาะกับการเขียนรูปทรงอิสระเช่น ต้นไม้ ภูเขา เป็นอย่างยิ่งเพราะสามารถร่างเส้นให้มีความลื่นไหลอย่างไม่ต้องกลัวผิดกลัวเบี้ยว เส้นที่ร่างอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความงามอย่างยิ่ง เมื่อรอให้เส้นที่เรา Sketch แห้งดีแล้วจึงลงสีน้ำได้ เป็นการแสดงเส้นร่างที่สวยงามได้ดีที่สุด
9. ปากกาคอแร้ง
สามารถเลือกเบอร์ขนาดปากได้หลากหลายตามความถนัด ถ้าปากเล็กอาจต้องกดๆ เส้นสักหน่อยเวลาสร้างภาพ เพื่อให้เส้นเกิดน้ำหนักอ่อน-แก่ แหรือใช้ปากหัวแบนๆ ใหญ่หน่อย ก็จะได้เส้นงามไปอีกแบบ ลักษณะการเขียนที่จะไม่ให้เส้นแข็งก็อยู่ที่ลักษณะการจับปากกา ถ้าต้องการเส้นสนุกสนานก็ให้จับแบบนอนขนานกับกระดาษ แต่ถ้าต้องการความละเอียดก็จับแบบเขียนหนังสือ ปากกากคอแร้งจะอุ้มหมึกได้นานกว่าการเขียนด้วยขนเป็ดและไม้จุ่มหมึก ซึ่งต้องจุ่มหมึกบ่อยครั้งกว่า แต่เส้นจะออกแข็งกว่า เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้เส้นที่ชำนาญในการเขียนภาพด้วยวัสดุนี้พอสมควร และก่อนเขียนในกระดาษจริงเมื่อจุ่มหมึกแล้วควรเขียนในเศษกระดาษก่อน เพื่อให้หมึกไม่แฉะมากนัก
10. ขนเป็ด
เป็นวัสดุที่สมัยโบราณใช้จุ่มหมึกเขียนหนังสือแทนปากกา จะใช้ขนเป็ดขนใหญ่ๆ หน่อย เช่น เป็ดเทศ ที่ชอบสะบัดขนร่วง หรือขนนกก็ได้ แล้วนำคัตเตอร์มาฝานปลายที่จะใช้เขียนให้เฉียง 45 องศา แล้วจุ่มหมึกกันน้ำเขียนได้เลย เทคนิคนี้จะใกล้เคียงกับไม้จุ่มหมึก แต่จะได้เส้นที่แปลกตากว่า แต่ต้องเช็ดปลายขนที่จะใช้เขียนให้หมาดๆ เล็กน้อยก่อนเขียนลงบนกระดาษ เพื่อไม่ให้หมึกไหลลงไปในภาพมากจนเกินไป เพราะจะควบคุมการไหลของหมึกได้ยากกว่าปากกาคอแร้ง .

ที่วัดสุวรรณาราม มีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง สมัย ร.3 สวยมาก

MY FAMILY